ทำไมเราถึงแก่ชรา? (ตอนที่ 4/12) ... การเปลี่ยนแปลงการสื่อสารระหว่างเซลล์
top of page

ทำไมเราถึงแก่ชรา? (ตอนที่ 4/12) ... การเปลี่ยนแปลงการสื่อสารระหว่างเซลล์

อัปเดตเมื่อ 30 ก.ย. 2023



การเปลี่ยนแปลงการสื่อสารระหว่างเซลล์ (Altered intercellular communication) หมายถึงการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณที่ส่งผ่านไปมาระหว่างเซลล์ มีผลต่อการอักเสบ (inflammation) และสมดุลของฮอร์โมน (hormonal imbalance) ในร่างกาย และจะส่งผลต่อการทํางานและพฤติกรรมของเซลล์


เมื่อเราแก่ตัว สภาพแวดล้อมของสารนำสัญญาณที่กระจายไปทั่วร่างกายมีแนวโน้มจะมีการอักเสบมากขึ้น ซึ่งจะไปยับยั้งระบบภูมิคุ้มกันและอาจทำให้เกิดการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ การสูญเสียกระดูก และผลกระทบที่ไม่ดีอื่นๆ ในกระบวนการที่เรียกว่า inflammaging


การเปลี่ยนแปลงการสื่อสารระหว่างเซลล์ จึงถือได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญมากเรื่องหนึ่งที่ทำให้แก่ชรา


มีปัจจัยที่นําไปสู่การเปลี่ยนแปลงการสื่อสารระหว่างเซลล์ คือ:


  • ความเสื่อมสภาพของเซลล์ (Cellular Senescence) - เมื่อเซลล์หยุดแบ่งตัวและเข้าสู่สภาวะชะงักงันของการเจริญเติบโต เซลล์ที่เสื่อมสภาพจะหลั่งสารพิษที่ทำให้เกิดการอักเสบและเป็นอันตราย ที่เรียกว่า senescence-associated secretory phenotype (SASP) ซึ่งสามารถทําลายเซลล์และเนื้อเยื่อใกล้เคียงและส่งเสริมให้เกิดความชราและโรคตามมาได้

  • การอักเสบ - การตอบสนองของร่างกายต่อการบาดเจ็บหรือการติดเชื้อที่เกี่ยวข้องกับการกระตุ้นเซลล์ภูมิคุ้มกันและการปล่อยสารไซโตไคน์ซึ่งเป็นสารเคมีที่ควบคุมการอักเสบ แต่การอักเสบเรื้อรังหรือมากเกินไป จะส่งผลเสียต่อร่างกาย เช่น การซ่อมแซมเนื้อเยื่อบกพร่อง การเพิ่มความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชัน และ การรบกวนความสมดุลของฮอร์โมน

  • ความไม่สมดุลของฮอร์โมน (Hormonal Imbalance) - ปกติฮอร์โมนทําหน้าที่ส่งสัญญาณระหว่างอวัยวะและเนื้อเยื่อต่างๆ และควบคุมกระบวนการทางสรีระวิทยาหลายอย่าง เช่น การเจริญเติบโต, การเผาผลาญ, การสืบพันธุ์ และ การตอบสนองต่อความเครียด เมื่อเราอายุมากขึ้น ระดับฮอร์โมนจะเปลี่ยนไปและไม่สมดุล ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพและสภาวะปกติของร่างกาย ตัวอย่างเช่น ระดับโกรธฮอร์โมน (GH - ฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโต) ที่ลดลง และ IGF-1 ที่จะนําไปสู่การสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ, ความเปราะบางของกระดูก และ สมองส่วนควบคุมความรู้ความเข้าใจทำงานลดลง เป็นต้น


วิธีป้องกันหรือชะลอการเปลี่ยนแปลงการสื่อสารระหว่างเซลล์และช่วยยืดอายุอายุขัยได้ดี มีดังนี้

  • การจํากัดแคลอรี่ (Caloric Restriction) เป็นการลดปริมาณแคลอรี่โดยไม่กระทบต่อการบริโภคสารอาหารของเรา และยังช่วยกระตุ้นกลไกที่ช่วยเพิ่มการทํางานของเซลล์และเนื้อเยื่อ เช่น sirtuins, AMPK และ mTOR นอกจากนี้ยังสามารถลดการอักเสบและความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชัน ซึ่งเป็นสาเหตุสําคัญของการสื่อสารระหว่างเซลล์ที่เปลี่ยนแปลง

  • สารกลุ่ม Senolytics จะช่วยกําจัดเซลล์ที่หมดสภาพออกจากร่างกาย และช่วยลดสาร SASP และผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อเซลล์และเนื้อเยื่อใกล้เคียง นอกจากนี้ยังสามารถปรับปรุงการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ ลดการอักเสบ และชะลอโรคที่เกี่ยวข้องกับอายุ

  • การบําบัดด้วยฮอร์โมนทดแทน (Hormonal Therapy) เป็นการช่วยเสริมร่างกายของเราด้วยฮอร์โมนที่ลดลงตามอายุ เช่น ฮอร์โมน GH, IGF-1, เอสโตรเจน, ฮอร์โมนเพศชายหรือเมลาโทนิน การบําบัดด้วยฮอร์โมนทดแทน จะช่วยคืนความสมดุลของฮอร์โมนและปรับปรุงด้านต่างๆ ของสุขภาพและริ้วรอย เช่น ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ, ความหนาแน่นของกระดูก, ความยืดหยุ่นของผิวหนัง, อารมณ์, ความจํา และ คุณภาพการนอนหลับ


============================


อ้างอิง:-




bottom of page