โรคลมชัก - NAD+ แนวทางใหม่ที่ใช้ในการรักษา
top of page

โรคลมชัก - NAD+ แนวทางใหม่ที่ใช้ในการรักษา

อัปเดตเมื่อ 30 ก.ย. 2566


อาการชักที่เกิดซ้ำบ่อยๆ เรียกกันว่าเป็น โรคลมชัก ซึ่งเกิดจากเซลล์สมองบางส่วนถูกทำลาย ทำให้เป็นรอยแผลเป็นจุดเล็กๆ ในสมอง และจุดเล็กนี้จะกระตุ้นให้เกิดอาการชักได้บ่อย


ทีมวิจัยพบว่า มีการเพิ่มขึ้นของเอนไซม์ CD38 (ที่ไปลดระดับ NAD+) ของสมองส่วนที่ถูกกระตุ้นให้เกิดอาการชัก (สมองส่วนฮิปโปแคมปัส) ซึ่งทำงานเกี่ยวกับการเรียนรู้และความทรงจำ ผลงานวิจัยนี้บ่งบอกว่า ระดับของแคลเซียมในเซลล์ที่สูงขึ้นจากเอ็นไซม์ CD38 เป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้เกิดอาการชัก และนำไปสู่การพัฒนาแนวทางการรักษาโรคลมชักที่มีประสิทธิภาพในอนาคต การขาดแคลน NAD+ เป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้เกิดความผิดปกติที่เกี่ยวกับระบบประสาทและสมองหลายชนิด รวมถึง โรคลมชักด้วย ประเด็นที่น่าสนใจคือ

การรักษาด้วย NAD+ จะช่วยกดสมองส่วนที่ถูกกระตุ้นให้ชักได้ (ทำในหนูทดลอง)

ดร.โคดาเวอเดียน่าและทีมงาน พบว่า กระต่ายที่ถูกกระตุ้นให้เกิดอาการชักด้วยไฟฟ้า เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ระดับ NAD+ ในเซลล์สมองส่วนฮิปโปแคมปัสลดลงในขณะที่ชัก และมีเพียงเอนไซม์ CD38 เพียงชนิดเดียวที่สูงขึ้น จึงบ่งชี้ว่า CD38 มีบทบาทสำคัญที่ทำให้เกิดอาการชัก

จากกราฟ (ด้านซ้าย) จะเห็นว่า ระดับของ NAD+ จะลดลงอย่างต่อเนื่องในระหว่างที่กำลังชัก (แบ่งระยะที่ชักเป็น 5 ระยะ - S1: ระยะที่ 1, S3: ระยะที่ 3, S5: ระยะที่ 5. C0: ควบคุม) และจากกราฟ (ด้านขวา) จะพบว่าโปรตีนที่เกี่ยวกับ NAD+ ประกอบด้วย CD38, PARP1 และ NAMPT มีเพียง CD38 ตัวเดียวเท่านั้นที่สูงขึ้นในขณะที่ชัก


นั่นหมายความว่า ระดับของ CD38 ที่สูงขึ้นเป็นสาเหตุให้เซลล์สมองไวต่อการกระตุ้นเป็นพิเศษ ทำให้ชักได้ง่าย ซึ่งนำไปสู่การทำลายเนื้อเยื่อสมอง

สรุป การให้ NAD+ จะช่วยลดอาการชักได้

ซึ่งน่าจะเป็นแนวทางใหม่ในการรักษาโรคลมชักในอนาคต อ้างอิง: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/33930374/

bottom of page