NAD+ ในการรักษาผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน
top of page

NAD+ ในการรักษาผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน

อัปเดตเมื่อ 30 ก.ย. 2566


งานวิจัยนี้ได้ทำการลองทางคลินิกแบบสุ่ม โดยให้การรักษาด้วย NR (Nicotinamide Riboside) กับผู้ป่วยที่เป็นโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease: PD)


ผู้ป่วยที่เพิ่งจะได้รับการวินิจฉัยเป็นโรค PD จำนวน 30 ราย โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

  • รับประทาน NR 1,000 มก. จำนวน 15 คน

  • รับประทานยาหลอก จำนวน 15 คน

ใช้เวลาในการทดลอง 30 วัน และผู้ป่วย PD ทุกรายจะได้รับการตรวจหาระดับ NAD+ ในสมองด้วยวิธี Phosphorous Magnetic Resonance Spectroscopy และตรวจหาสารอื่นที่เกี่ยวข้อง จากน้ำจากไขสันหลัง (CSF) คนไข้ PD ที่ได้รับยา NR พบว่า มีระดับ NAD+ ในสมองสูงขึ้น บ่งชี้ว่า มีการเปลี่ยนแปลงการทำงานสมองส่วนเซเรบรัม (Cerebrum) ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ด้วยวิธี Fluoro-deoxyglucose positron emission tomography ซึ่งสัมพันธ์กับอาการที่ดีขึ้นเล็กน้อย

NR จะไปเพิ่มระดับสาร NAD+ และสารอื่นๆ และกระตุ้นให้เกิดสัญญานไปเพิ่มกระบวนการทำงานของ ไมโตคอนเดรีย. ไลโซโซม และการทำงานของเอ็นไซม์ในเลือดและกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ NR ยังไปลดระดับของสารที่เกี่ยวกับการอักเสบ (Cytokines) ในน้ำเหลืองและน้ำจากไขสันหลัง (CSF) จากการทดลองนี้ บ่งชี้ว่าสาร

NR ช่วยรักษาและป้องกันเส้นประสาทและสมองได้อย่างมีประสิทธิภาพในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน

ซึ่งต้องรอการวิจัยอื่นๆ เพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนต่อไป

 

โรคพาร์กินสัน (Parkinson disease)

คือ โรคความเสื่อมของระบบประสาท ที่พบบ่อยที่สุดโรคหนึ่งในผู้สูงอายุ พบได้ 1% ในผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป โรคนี้มีความสำคัญต่อการสาธารณสุขไทย เพราะเป็นโรคที่ทำให้ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ทุพพลภาพ เพิ่มอัตราการเสียชีวิต และยังส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลอีกด้วย อาการโรคพาร์กินสัน อาการแสดงหลักเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวผิดปกติ (Motor Symptoms) ประกอบด้วย

  • อาการเคลื่อนไหวช้า

  • อาการสั่นขณะอยู่เฉย

  • อาการแข็งเกร็ง

  • การทรงตัวลำบาก ทำให้หกล้มบ่อย


 

NR (Nicotinamide Riboside) เมื่อรับประทานเข้าสู่ร่างกาย NR จะเข้าสู่เซลล์และเปลี่ยนไปเป็น NMN (Nicotinamide Mononucleotide) จากนั้นก็จะเปลี่ยนไปเป็นสาร NAD+ (Nicotinamide Adenine Dinucleotide) เพื่อใช้งานต่อไป

 
bottom of page