Beta-White (β-White) สารที่อ้างว่า "มีผลต่อยีนที่ควบคุมการสร้าง Tyrosinase" — Concept ที่น่าสนใจมาก
top of page

Beta-White (β-White) สารที่อ้างว่า "มีผลต่อยีนที่ควบคุมการสร้าง Tyrosinase" — Concept ที่น่าสนใจมาก


หลักการ


ถ้า MITF เปลี่ยนแปลงไปหรือถูกกดการทำงาน ก็จะมีผลต่อเอ็นไซม์ Tyrosinase (เนื่องจากแม่พิมพ์ MITF เปลี่ยนไป) ก็จะมีผลต่อการสร้างเม็ดสีเมลานิน การแบ่งตัวและอายุของเซลล์เมลาโนไซต์เปลี่ยนไปด้วย — จุดนี้ถือว่าเป็นหัวใจของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ขึ้นมา นั่นคือ การพัฒนาสารที่สามารถยับยั้ง MITF ไม่ให้ทำงาน — เป็นการยับยั้งในระดับพันธุกรรมหรือยีน นั่นเอง! (ผมแนะให้คุณอ่านบทความ การควบคุมการสร้างเม็ดสีเมลานิน — ในระดับยีน (พันธุกรรม) ... แนวคิดใหม่ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อผิวที่ขาวใส ... คุณจะเข้าใจได้ง่ายขึ้น) หมายเหตุ: โรค Waardenburg Syndrome type IIA มีลักษณะอาการคือสีผิวและสีผมผิดปกติ มีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของยีน MITF

       


ครับ จากหลักการนี้ ทำให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ผิวขาวใสตัวใหม่ล่าสุดขึ้นมา...

       

สารตัวใหม่ที่พัฒนาขึ้นมาภายใต้หลักการนี้ก็คือ β-White™ — เป็นสารประกอบพวกเป็ปไทด์ที่จะจับกับ TGF-β receptor — ตำแหน่งเดียวกับของ TGF-β1 (TGF-β agonist peptide)   เมื่อจับกับ receptor แล้วก็จะออกฤทธิ์เหมือนกับ TGF-β1 + TGF-β receptor รวมตัวกัน  

       

นอกจากนี้ สารตัวนี้จะถูกหุ้มอยู่ในไลโปโซมอีกที เพื่อให้สารที่ว่านี้ มีความเสถียรมากขึ้นและเข้าสู่ผิวได้ดีขึ้น ดังรูป





β-White™ จะไปจับที่ TGF-β receptor ซึ่งเป็นตำแหน่งเดียวกับของ TGF-β1 และออกฤทธิ์เช่นเดียวกับ TGF-β1 (เนื่องจาก TGF-β1 มีน้อย จะหลั่งออกมา เฉพาะเมื่อมีการกระตุ้นให้สร้างเมลานินเท่านั้น)

 






มีการทดลองเพื่อดูผลของ β-White™ ต่อผิวหนัง เป็นการทดลองที่ค่อนข้างซับซ้อน ผมจึงขอสรุปตัดตอนเป็นภาพได้ดังนี้ เพื่อให้เพื่อนๆ เข้าใจได้ง่ายขึ้น



สรุป

β-White™ + TGF-β receptor ให้ผลเหมือนกับ TGF-β1 + TGF-β receptor

ผลลัพธ์ที่ได้จากการรวมตัวกันนี้คือ

  • ยับยั้งกระบวนการสร้างเม็ดสีเมลานิน

  • ยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์ Tyrosinase

  • ยับยั้งการทำงานของ MITF

  • ยับยั้งการทำงานของ TRP-1 และ TRP-2

  • ลดการส่งเมลาโนโซมไปตามท่อเด็นไดร์ท





bottom of page