เปิดสวิทช์ เพื่อรีเซ็ทร่างกายให้กลับมา อ่อนวัย อีกครั้ง!
top of page

เปิดสวิทช์ เพื่อรีเซ็ทร่างกายให้กลับมา อ่อนวัย อีกครั้ง!

อัปเดตเมื่อ 30 ก.ย. 2566


ซ้ายมือ เป็นภาพของหนูแก่ที่ตาบอด ความจำไม่ดีและอ่อนแรง


ภาพขวามือเป็นหนูตัวเดียวกัน ถ่ายหลังภาพซ้ายมือ มีอายุมากกว่า แต่สายตาและความทรงจำดีขึ้น กระฉับกระเฉงกว่าเดิม


🔴 เกิดอะไรขึ้น ❓❗ ...


ในห้องแลบของ ดร.เดวิด ซินแคลร์ ที่โรงเรียนแพทย์ฮาวาร์ด ได้ทำการเปลี่ยนหนูแก่ให้กลับมาเป็นหนุ่มอีกครั้ง


ด้วยการใช้โปรตีนที่สามารถเปลี่ยนเซลล์ที่โตเต็มวัยให้กลับมาเป็นเซลล์ต้นกำเนิด (สเต็มเซลล์) ได้อีก ทำให้ทีมงานของ ดร.เดวิด ทำการรีเซ็ทเซลล์ที่มีอายุในหนูให้ย้อนวัยได้ งานวิจัยนี้ได้ตีพิมพ์ในปี 2020 (*1) โดยใช้หนูแก่สายตาแย่ ที่จอตาถูกทำลาย ให้กลับมามองเห็นอีกครั้ง


ดร.เดวิด ซินแคลร์ กล่าวว่า "เป็นการรีเซ็ทแบบถาวร ที่ไปได้ไกลมาก และพวกเราคิดว่านี่อาจจะเป็นกระบวนการทั่วไปอย่างหนึ่ง ที่สามารถประยุกต์ใช้ในการรีเซ็ทอายุของเรา"


"ถ้าเราย้อนวัยไปได้ โรคต่างๆ ก็จะไม่เกิดขึ้น ปัจจุบ้นนี้ พวกเรามีเทคโนโลยีที่จะพาคุณไปจนอายุเป็นร้อยปีได้ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องการเกิดมะเร็งตอนอายุ 70 ปี ไม่ต้องกลัวโรคหัวใจตอนอายุ 80 ปี และโรคอัลไซเมอร์ในวัย 90 ปี "


"นี่เป็นโลกที่กำลังจะมาถึง มักมีคำถามมาว่า จะเกิดเมื่อไหร่และในยุคของเรามั้ย -- มันกำลังเกิดขึ้นในช่วงชีวิตของพวกเรานี้เอง!" ดร.เดวิด กล่าวกับสำนักข่าว CNN



พวกเราสามารถรักษาโรคชราได้หรือไม่?


"ในงานวิจัยของ ดร.เดวิด ได้แสดงให้เห็นว่า คุณสามารถเปลี่ยนอายุให้อ่อนวัยลงเพื่อให้อยู่นานขึ้น ตอนนี้เขาได้เปลี่ยนโลกและทำให้ความชราเป็นโรคชนิดหนึ่ง" Whitney Casey นักลงทุนและเป็นหุ้นส่วนกับ ดร.เดวิด ซินแคลร์ ได้กล่าวถึงงานวิจัยของ ดร.เดวิด ซินแคลร์



กดปุ่มรีเซ็ท


นักวิจัยชาวญี่ปุ่น Dr.Shinya Yamanaka ได้ทำการรีโปรแกรมเซลล์ผิวหนังที่โตเต็มวัยของมนุษย์ (Human adult skin cell) ให้กลับมาเหมือนเซลล์ทารกหรือเซลล์ต้นกำเนิดแรกเริ่ม (Embryonic / Pluripotent stem cell: สเต็มเซลล์ ที่สามารถพัฒนาไปเป็นส่วนของตัวเด็กและอวัยวะต่าง ๆ ภายในตัวเด็กได้) การค้นพบนี้ทำให้ ดร.ยามานากะ ได้รับรางวัลโนเบล และ pluripotent stem cell ที่ได้จากการกระตุ้นนี้ ต่อมารู้จักกันในชื่อ


Yamanaka Factor (ประกอบด้วยยีน 4 ตัว: OSKC)

เซลล์โตเต็มวัยที่เปลี่ยนกลับไปเป็นเซลล์ต้นกำเนิดผ่านทาง Yamanaka factor นี้จะสูญเสียลักษณะเฉพาะดั้งเดิมของตัวเอง (Cell Identity: ลักษณะเฉพาะตัวของเซลล์ชนิดนั้น เช่น เซลล์ตับ ก็จะมีลักษณะเฉพาะของเซลล์ตับ เป็นต้น) เซลล์ที่เปลี่ยนไปนี้จะลืมลักษณะดั้งเดิมของตัวเอง เช่น ลืมไปว่าตัวเองเคยเป็นเซลล์เม็ดเลือด หรือเซลล์หัวใจ หรือเซลล์ผิวหนัง เป็นต้น -- ซึ่งถือได้ว่า เป็นการเกิดใหม่ที่สมบูรณ์!


จากงานวิจัยนี้ ทำให้ห้องแลบทั่วโลกต่างให้ความสนใจศึกษาและวิจัยเรื่องนี้กันมาก มีงานวิจัยหนึ่งที่ตีพิมพ์ในปี 2016 (*2) โดยทีมนักวิจัยจาก Salk Institute for Biological Studies ในเมือง La Jolla รัฐแคลิฟอร์เนีย ได้แสดงให้เห็นว่า เมื่อใส่สารกระตุ้นช่วงเวลาสั้นๆ ลงไปใน Yamanaka factor ของหนูที่แก่ตามกรรมพันธุ์ พบว่า อาการชราจะหายไป โดยที่ลักษณะเฉพาะดั้งเดิมของเซลล์ (Cell Identity) ยังคงอยู่ ... แต่ต่อมาก็พบว่า หนูพวกนี้ก็มีเนื้อมะเร็งตามมา!




ทีมงานที่ห้องแลบของ ดร.เดวิด พยายามหาวิธีแก้ที่ปลอดภัยขึ้น โดย Yuancheng Lu ได้ทดลองใช้ยีน 3 ตัว (OSK) จากยีนทั้งหมด 4 ตัวของ Yamanaka factor แล้วใส่ยีนพวกนี้เข้าไปในตัวไวรัส (ที่ไม่เป็นอันตราย) โดยไวรัสนี้จะถูกออกแบบให้ส่ง Yamanaka factor (ที่ถูกทำให้ย้อนวัยแล้ว) เข้าไปในเซลล์จอประสาทตาที่ถูกทำลาย (damaged retinal ganglion cells) แล้วนำไปวางไว้ที่ด้านหลังของลูกตาหนูแก่


หลังจากที่ฉีดไวรัส (ที่มี Yamanaka factor ที่ถูกทำให้ย้อนวัย) ลงไปในตาของหนูแก่ และให้หนูพวกนี้กินสารบางอย่าง พบว่า สารนี้จะไปเปิดสวิทช์ของยีน pluripotent ได้


สารชนิดนี้เป็นสารเคมี สามารถเปิดสวิทช์ยีนเซลล์ต้นกำเนิดแรกเริ่มได้ (Pluripotent genes) -- ซึ่งปกติแล้วยีนพวกนี้จะทำงานเฉพาะตอนเป็นตัวอ่อนมากๆ ที่กำลังเติบโต แต่พออายุมากขึ้น ยีนพวกนี้ก็จะถูกปิดสวิทช์ไม่ให้ทำงาน!


ที่น่าทึ่ง ก็คือ เส้นประสาทที่ถูกทำลายในตาหนูแก่ (ได้รับการฉีดยีน OSK ที่ผ่านการย้อนวัย) จะมีใยเส้นประสาท (axon) งอกใหม่จากลูกตาเข้าไปที่สมอง ตั้งแต่ก่อนการวิจัย ดร.ซินแคลร์ได้กล่าวว่า แลบของเขาได้ทำการย้อนวัยในกล้ามเนื้อและสมองของหนูทดลองได้ และตอนนี้มันใช้งานในการย้อนวัยได้กับทั้งตัวหนู


ดร.เดวิด ซินแคลร์กล่าวว่า "เซลล์รู้ว่า ร่างกายสามารถจะรีเซ็ทตัวมันเองได้ และยังรู้ด้วยว่า ยีนไหนที่ทำได้ตอนที่มันยังอ่อนวัย" และกล่าวเสริมด้วยว่า "คิดว่า พวกเรากำลังสัมผัสไปถึงระบบการงอกแบบยุคดั้งเดิมที่สัตว์บางชนิดใช้กัน - เช่น เมื่อเราตัดแขนขาหรือหางบางส่วนของตัวซาลาแมนเดอร์ มันก็จะงอกส่วนนั้นออกมาใหม่ / หางของปลา จะงอกออกมา / หรือนิ้วของหนูจะงอกกลับคืน เป็นต้น"


การค้นพบนี้ บ่งบอกว่า


มีการทำสำเนา (Backup copy) ของข้อมูลตอนที่เยาว์วัยเก็บไว้ในร่างกาย

ดร.เดวิด เรียกมันว่า "ทฤษฏีข้อมูลของอายุ (The information theory of ageing) - เป็นการสูญเสียข้อมูลที่ทำให้เซลล์ชราลืมบทบาทหน้าที่ของตัวเอง ลืมว่าตัวเองเป็นเซลล์ชนิดไหน และตอนนี้พวกเราได้สัมผัสไปที่การรีเซ็ทสวิทช์เพื่อฟื้นฟูความสามารถของเซลล์ในการอ่านจีโนมได้อย่างถูกต้องอีกครั้ง ราวกับว่ามันยังอ่อนวัยอยู่"


หลังจากหนูทดลองมีการเปลี่ยนแปลงเสร็จสิ้นลงแล้ว เซลล์ที่เกิดใหม่จะไม่แช่แข็งในสภาพ ณ. เวลานั้นตลอดไป ดร.เดวิด กล่าวว่า "มันเป็นการรีเซ็ท จากนั้นเราก็ได้เห็นหนูกลับมาแก่อีกครั้ง ดังนั้นเราเพียงแต่ทำกระบวนการนั้นซ้ำต่อไป"


และยังกล่าวเพิ่มเติมว่า "เชื่อว่า พวกเราได้พบสวิทช์หลักที่ใช้ควบคุม หนทางที่จะย้อนนาฬิกาได้" -- "ร่างกายจะตื่นขึ้นมา จดจำได้ว่าเคยทำอะไร จำได้ว่าจะงอกซ่อมแซมอย่างไร เพื่อที่จะกลับมาอ่อยวัยอีกครั้ง แม้ว่าคุณจะแก่ชราไปแล้วและมีโรคภัยไข้เจ็บก็ตาม"



================


อ้างอิง:-





bottom of page