top of page

สารซีโนไลติกช่วยล้างสารพิษออกจากร่างกาย

อัปเดตเมื่อ 30 ก.ย. 2566



บทความที่ผ่านมา ผมได้กล่าวถึงสารซีโนไลติก (Senolytic) เพื่อให้รู้พื้นฐานการทำงานของร่างกายในการกำจัดเซลล์ที่หมดสภาพ (เซลล์ซอมบี้) และในบทความนี้ผมจะมาประยุกต์ให้พวกเราเข้าใจมันมากขึ้น


โดยพื้นฐานแล้ว เซลล์แต่ละชนิดที่อยู่ในอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกายจะมีช่วงชีวิตของมันเอง ขึ้นกับว่ามันอยู่ในอวัยวะอะไร ตัวอย่างเช่น

  • เซลล์ผิวหนัง มีอายุ 28 วัน

  • เซลล์เม็ดเลือดขาว มีอายุ 13 วัน

  • เซลล์เม็ดเลือดแดง มีอายุ 120 วัน

  • เซลล์ตับ มีอายุนานถึง 18 เดือน

จะเห็นว่า เซลล์แต่ชนิดที่อยู่ตามอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกายจะมีอายุไม่เท่ากัน ในคนที่สุขภาพดี เซลล์จะมีการแบ่งตัว - เพิ่มจำนวน - เสื่อมสภาพ (แก่) - และถูกทำลาย - แบบนี้วนไปเรื่อยๆ เพื่อให้อวัยวะนั้นยังคงทำหน้าที่ต่อไปได้ตามปกติ และช่วยในการซ่อมแซมร่างกาย เช่น กรณีที่เรามีแผลเกิดขึ้นที่นิ้วมือ เซลล์ผิวหนังก็จะทำการซ่อมแซมตัวเอง ทำให้แผลหายได้ เป็นต้น


เมื่อมีการเสื่อมสภาพของเซลล์เกิดขึ้น เซลล์นั้นก็จะมีกระบวนการ อะพอพโทซีส (Apoptosis) เพื่อทำลายตัวเอง และจะมีเซลล์เกิดใหม่เข้ามาแทนที่ แต่ถ้าเซลล์ที่เสื่อมสภาพแล้ว ไม่ถูกทำลาย แถมยังปล่อยสารที่เป็นพิษออกมาก (เช่น SASP มี Cytokine, chemokine และอื่นๆ) และสารพิษนี้จะก่อให้เกิดการอักเสบของเซลล์โดยรอบตัวมันเกิดการเสื่อมสภาพเหมือนมัน (เซลล์ซอมบี้) เมื่อเซลล์เสื่อมสภาพสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ ผลที่ตามมาคือความแก่ชราของร่างกาย และจะมีโรคต่างๆ ตามมาด้วย โดยเฉพาะโรคมะเร็ง


โดยทั่วไป ร่างกายคนเราจะพยายามอยู่รอดตลอดด้วยการกำจัดเซลล์ที่เสื่อมสภาพ ที่ใช้งานไม่ได้แล้ว และทำการผลิตเซลล์ใหม่ขึ้นมา เพื่อให้อวัยวะนั้นยังคงทำงานได้ตามปกติ


แต่เมื่อคนเราอายุมากขึ้น ระบบต่างๆ ในร่างกายเริ่มทำงานช้า โดยเฉพาะระบบภูมิต้านทานของร่างกาย ทำให้มีเซลล์เสื่อมสภาพสะสมมากขึ้น และไม่มีพื้นที่ให้เซลล์ใหม่ขึ้นมาทดแทน อวัยวะในร่างกายจึงเสื่อม ทำให้ชราภาพ ดังนั้น เมื่อร่างกายเรา (ที่ชราภาพ) ไม่สามารถทำลายเซลล์ที่เสื่อมสภาพ (เซลล์ซอมบี้) ได้เองแล้ว ... ปัญหาคือ


จะหาวิธีช่วยร่างกายเราในการกำจัดเซลล์เสื่อมสภาพนี้ได้อย่างไร?


สารซีโนไลติก (Senolytic) ช่วยกำจัดเซลล์ซอมบี้

สารซีโนไลติก เมื่อเรารับประทานเข้าสู่ร่างกาย มันจะพุ่งเป้าไปที่เซลล์ซอมบี้ พร้อมทั้งป้องกันไม่ให้ปล่อยสารพิษแพร่กระจายไปยังเซลล์อื่น และยังช่วยชะลอการเสื่อมในระดับเซลล์ ด้วยกลไกนี้ทำให้อวัยะต่างๆผลิตเซลล์ใหม่ขึ้นมาทดแทน และกลับมาทำหน้าที่ได้ดีเช่นเดิม


จากงานวิจัยโดย Dr.Emanuel J. Novais และคณะในปี 2021 ได้ทำการวิจัยถึงการให้สารซีโนไลติกระยะยาว 2 ปี แก่หนูเพื่อบรรเทาอาการหมอนรองกระดูกเสื่อม ซึ่งสารที่ใช้ทดสอบคือ ยาดาซาตินิบ (Dasatinib) และเคอร์เซติน [1] พบว่าสามารถลดอาการหมอนรองกระดูกเสื่อมได้


อีกงานวิจัยที่น่าสนใจ คือ การศึกษาของ Mayo Clinic สหรัฐอเมริกา พบว่า การให้สารซีโนไลติก สามารถเพิ่มอายุขัยของหนูในห้องทดลองได้ 17-35% [2]


====================


อ้างอิง:-

Comments

Rated 0 out of 5 stars.
No ratings yet

Add a rating
bottom of page