การมีสุขภาพที่ดีและการมีอายุยืน จะควบคู่กันไปพร้อมกับการเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ จึงเป็นที่มาของคำว่า คุณจะเป็นอะไรก็อยู่ที่คุณกินอะไร (You Are What You Eat) ทำให้หลายคนเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับการกินอาหาร
ถึงแม้ว่าการลดปริมาณแคลอรี่ลงและการอดอาหาร จะได้รับการพิสูจน์แล้วว่า ช่วยใหน้ำหนักลดลงได้และยังทำให้อายุที่ยืนยาวขึ้น ซึ่งก็ไม่ง่ายที่จะทำกันให้ได้ทุกวัน แต่ถ้ามันคุ้มค่าที่ทำไปแล้วและได้มาซึ่งน้ำหนักที่ลดน้อยลงและอายุก็ยืนยาว ... ผมคิดว่าคุณน่าจะลองทำดูนะครับ
มาดูกรณีของอเดล (Adele) - นักแต่งเพลงและนักร้องดัง ที่ปรากฎตัวในงานวันเกิดของ Drake ในปี 2019 ด้วยหุ่นที่ดูฟิตและเพรียว สร้างความสนใจให้กับสื่อมวลชนจำนวนมาก กับน้ำหนักที่ลดลงได้เกือบ 100 ปอนด์ (ราว 45 กก.) ในช่วงเวลาเพียง 2 ปี ด้วยการจ้างโค๊ชช่วยฝึกพร้อมกับอดอาหารแบบ Sirtfood diet
การลดน้ำหนัก 45 กก.ของนักร้องอเดล ใช้วิทยาศาสตร์มาประยุกต์ - SIRTFOOD Diet
นี่คือเหตุผลที่ทำให้ Sirtfood diet ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากทั่วโลก และถ้าจะอธิบายในเชิงวิทยาศาสตร์ที่อยู่เบื้องหลัง Sirtfood ที่ช่วยให้ Adele สามารถลดน้ำหนักลงได้จนผอมเพรียว, ช่วยเติมพลังให้กับ McGregor ในการชิงแชมป์โลก UFC และอื่นๆ
Sirtfood เป็นคำผสม ที่เกิดจากคำว่า Sirtuin + Food มารวมกัน ซึ่งก็หมายความถึง อาหารที่มีสารที่สามารถกระตุ้นยีนเซอร์ทูอีนได้ และยีนนี้เองที่เป็นหัวใจสำคัญในการจัดการพลังงานของเซลล์ที่ส่งผลต่อเรื่องอายุและการอยู่รอด
ยีนเซอร์ทูอีนจะมีบทบาทต่อกระบวนเผาผลาญมากน้อยแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของสารอาหารที่กินเข้าไป
การอดอาหารและการจำกัดแคลอรี่ ทำให้ร่างกายเข้าสู่ "โหมดการอยู่รอด" ก็จะไปกระตุ้นยีนเซอร์ทูอีนให้ทำงาน โดยยีนนี้จะกระตุ้นกระบวนการเผาผลาญไขมัน (มาใช้เป็นพลังงาน) พร้อมทั้งสลับไปใช้กลไกการซ่อมแซมเซลล์เพื่อที่จะให้เซลล์อยู่รอดให้ได้ ... นั่นหมายความว่า ยีนเซอร์ทูอีนจะทำให้เซลล์ร่างกายของเราสดขึ้นและทำหน้าที่ช่วยให้ร่างกายของเราผอมเพรียวและดูอ่อนเยาว์ขึ้น
การอดอาหารและการจำกัดแคลอรี่ ทำให้ร่างกายเข้าสู่ "โหมดการอยู่รอด"
เราสามารถพบยีนเซอร์ทูอีนได้ทั่วร่างกาย โดยมันจะทำงานในเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเผาผลาญไขมัน ที่มีอยู่ทุกที่ ทั้งในตับ ตับอ่อน กล้ามเนื้อและเซลล์ไขมันด้วย เซอร์ทูอีนจะควบคุมว่า เมื่อไหร่จะสร้างและสะสมไขมัน รวมทั้งการจะนำไขมันไปใช้ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยมันจะไปควบคุมการผลิตเซลล์ไขมันในเนื้อเยื่อไขมันโดยตรง และส่งเสริมให้เปลี่ยนไขมันไปเป็นพลังงาน และยังป้องกันไม่ให้มีการสะสมไขมันในกล้ามเนื้อลายและที่ตับ นอกจากนี้ ยังควบคุมทางอ้อมอีกทีโดยควบคุมการหลั่งและการทำงานของฮอร์โมนอินซูลินที่ตับอ่อนด้วย
เซอร์ทูอีนยังมีผลต่อสมอง ทำให้สมองปล่อยสัญญานว่าเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ จะใช้พลังงานอย่างไร นอกจากนี้เซอร์ทูอีนยังมีบทบาทในการควบคุมความอยากอาหาร ตัวอย่างเช่น การจำกัดแคลอรี่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเราในการควบคุมความต้องการกินอาหารที่มากขึ้น เป็นต้น
เมื่อเซอร์ทูอีนมีบทบาทในการควบคุมไขมันและความอยากอาหาร มันจึงมีผลต่อการอดอาหาร, ความอ้วน และ โรคอื่นๆ ที่สัมพันธ์กัน เซอร์ทูอีน ยังช่วยให้มีอายุที่ยืนยาวขึ้น ผ่านทางกลไกการควบคุมการเติบโต, การแบ่งตัว, การเสื่อม และการตายของเซลล์
เซอร์ทูอีนจะช่วยป้องกันและซ่อมแซม DNA และเซลล์จากการทำลายด้วยสารอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้เกิดโรคเรื้อรังอื่นๆ รวมทั้งโรคหัวใจ, ความอ้วน และเบาหวาน
เมื่อเราอายุมากขึ้น การทำงานของเซอร์ทูอีนจะลดน้อยลง นั่นก็เพราะว่า การทำงานของเซอร์ทูอีนขึ้นอยู่กับสารสำคัญ นั่นก็คือ NAD+ (Nicotinamide Adenine Dinucleotide) ซึ่งจะลดน้อยลงเช่นกัน เมื่ออายุเรามากขึ้น เมื่อเซอร์ทูอีนลดการทำงาน ทำให้ร่างกายสูญเสียความสามารถในการรักษาเซลล์ให้สดและอ่อนเยาว์ เป็นผลให้ร่างกายเริ่มแย่และเสื่อมลง ทำให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมา
Sirtfood diet จึงมีพื้นฐานมาจากการที่พืช ซึ่งมีสารโพลีฟีนอลสามารถกระตุ้นยีนเซอร์ทูอีนได้นั่นเอง สารกลุ่มโพลีฟีนอลพบได้ในพืชและอาหารหลายชนิด ทั้งพืชผัก ผลไม้ ชา ธัญพืชและในไวน์ด้วย มีงานวิจัยจำนวนมากที่บ่งชี้ว่า สารกลุ่มโพลีฟีนอล (ทั้ง เรสเวอราทรอล, เคอร์เซติน, เคอร์คูมิน, genistein และ EGCG) มีผลต่อยีนเซอร์ทูอีน การบริโภคสารกลุ่มนี้ต่อเนื่องจึงมีผลดีต่อสุขภาพ
ผู้สนใจ สอบถามรายละเอียดและสั่งซื้อได้ที่ ...
⫸ Tel. 082-777-4461, 092-247-7006
⫸ Line ID: baramilab หรือ sale.04
อ้างอิง
Imai SI, Guarente L. It takes two to tango: NAD+ and sirtuins in aging/longevity control. NPJ Aging Mech Dis. 2016 Aug 18;2:16017. doi: 10.1038/npjamd.2016.17.
Iside C, Scafuro M, Nebbioso A, Altucci L. SIRT1 Activation by Natural Phytochemicals: An Overview. Front Pharmacol. 2020 Aug 7;11:1225. doi: 10.3389/fphar.2020.01225.
Kurylowicz A. In Search of New Therapeutic Targets in Obesity Treatment: Sirtuins. Int J Mol Sci. 2016 Apr 19;17(4):572. doi: 10.3390/ijms17040572.
Yessenkyzy A, Saliev T, Zhanaliyeva M, Masoud AR, Umbayev B, Sergazy S, Krivykh E, Gulyayev A, Nurgozhin T. Polyphenols as Caloric-Restriction Mimetics and Autophagy Inducers in Aging Research. Nutrients. 2020 May 8;12(5):1344. doi: 10.3390/nu12051344.
Comments