มัทฉะ คืออะไร? ... ต่างจากกาแฟอย่างไร?
อัปเดตเมื่อ 2 พ.ย.
มัทฉะ (Matcha) เป็นเครื่องดื่มที่กำลังได้รับความนิยม เนื่องจากมัทฉะมีคุณสมบัติที่โดดเด่นและเหมาะกับการบูสต์เพิ่มพลังงาน และไม่ต้องการคาเฟอีนมากเมื่อเทียบกับกาแฟ และมัทฉะยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ (ค่า ORAC สูง)

มัทฉะและกาแฟต่างก็เป็นเครื่องดื่มสุขภาพ ขึ้นอยู่กับมุมมอง ประสบการณ์ และการตลาด บทความนี้เปรียบเทียบมัทฉะและกาแฟ ชี้ให้เห็นคุณค่าเชิงวิชาการและด้านโภชนาการของมัทฉะ
◼ มัทฉะคืออะไร?
ไม่ว่าจะเป็นชาเขียว Matcha หรือ Green Tea ต่างก็มีต้นกำเนิดมาจากต้นเดียวกัน นั่นก็คือ ชาดำหรือที่รู้จักกันในชื่อว่า ชาอู่หลง แต่มีความแตกต่างกันอยู่ที่ “กรรมวิธีการผลิต”
ดังนั้นจุดเริ่มต้นของชาเขียว ไม่ว่าจะเป็นแบบผงที่ใส่ไว้ในซอง แช่น้ำร้อน หรือจะเป็นแบบใบตากแห้ง แล้วนำไปชงกับน้ำร้อน เราจะเรียก ชาเขียวเหล่านี้ว่า “Green Tea” แต่ลักษณะการเรียกชื่อจะแตกต่างกันออกไปตามรูปแบบ เช่น
ใบชาที่เป็นใบแห้ง ใช้ชงกับน้ำร้อน เราเรียกกันว่า เซนฉะ (Sencha)
แบบใบผสมกับความหอมของข้าวคั่ว หรือชาข้าว จะเรียกว่า เก็นมัยฉะ (Genmaicha) และ
ชาเขียวที่นำมาบดเป็นผงละเอียด จนละลายในน้ำได้ พร้อมดื่ม มีความเข้มข้นสูง เราเรียกว่า มัทฉะ (Matcha) เป็นชาเขียวที่จัดได้ว่าเป็นที่นิยมอย่างมาก และมีกรรมวิธีในการผลิตที่ซับซ้อนมากกว่า Green Tea อย่างมากเลยทีเดียว
◻ รสชาติของมัทฉะเป็นอย่างไร?
ด้วยผงสีเขียวของชามัทฉะ จะให้ความรู้สึกที่สดใส มีสีสัน พร้อมด้วยรสชาติที่ออกทางโทนดิบ (หรือเอิร์ท) ที่เข้มข้นสุดฤทธิ์ แบบมีสมดุลย์ในตัว ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่พบได้ในชามัทฉะ เกรดชั้นดี โดยเฉพาะ เกรดพิธีการ (Ceremonial grade) ออกขมเล็กน้อยและเจือด้วยความหวานที่ติดปลายลิ้นสัมผัส พร้อมกลิ่นอายของความน่าหลงใหล ซึ่งในปี ค.ศ. 1909 Professor Kikunae Ikeda ได้ให้นิยามในความหมายนี้ว่า - อูมามิ (Umami) - ที่จะทำให้คุณอยากจะกลับมาจิบ เพื่อล่องลอยไปกับรสชาติที่กลมกล่อม และดื่มด่ำไปกับเสนห์ที่เย้ายวน!
◻ ในมัทฉะมีคาเฟอีนมากแค่ไหนเมื่อเทียบกับกาแฟ?
มัทฉะมีคาเฟอีนแม้ว่าจะน้อยกว่ากาแฟส่วนใหญ่ก็ตาม โดยเฉลี่ยแล้ว มัทฉะหนึ่งแก้ว มีคาเฟอีนประมาณ 70 มก. เมื่อเทียบกับกาแฟ 100-140 มก. แต่มัทฉะกลับสามารถทําให้คุณรู้สึกตื่นตัวได้นานกว่ากาแฟ
.
◻ แนะนำให้ดื่มมัทฉะกี่แก้วต่อวัน?
เราสามารดื่มชามัทฉะได้ 2 - 3 แก้วต่อวัน แต่ถ้าเป็น มัทฉะช็อต แนะนำให้ดื่ม 1 แก้วต่อวัน ยกเว้นถ้าคุณต้องการจะบูสต์พลังงานเพื่อภารกิจบางอย่าง ก็อาจจะเพิ่มได้เป็น 2 แก้ว/วัน
◻ ความต่างของชามัทฉะกับกาแฟ
ทั้งกาแฟและมัทฉะต่างก็เป็นเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ขึ้นอยู่กับมุมมอง ประสบการณ์ และสุดท้ายการตลาดที่สามารถชี้นำ บทความนี้จึงพยายามมองหาความแตกต่างและยกมาเป็นประเด็นที่ชี้ให้เห็นคุณค่าของเครื่องดื่มทั้ง 2 ชนิดในเชิงวิชาการ และด้านโภชนาการ เป็นหลัก
บทความนี้จะให้คำตอบกับคุณได้ ก่อนที่จะเลือกบริโภค เพื่อให้ได้คุณประโยชน์ที่ดีที่สุด มอบให้แก่ร่างกายของเรา:-
1. มัทฉะมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง (ORAC สูง)
เช่นเดียวกับชา, มัทฉะเป็นแหล่งที่มีสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิธิภาพ (Polyphenol) และเนื่องจากการปลูกชามัทฉะ การเก็บเกี่ยว การบดใบที่ละเอียด ที่ได้รับการดูแลเป็นพิเศษทุกขั้นตอน ทำให้ผงชามัทฉะสามารถรักษาคุณค่าที่สำคัญของสารสำคัญไว้ได้ จึงไม่แปลกที่ชามัทฉะถูกจัดอันดับให้มีสารต้านอนุมูลอิสระที่สูงมากตัวหนึ่ง

สารต้านอนุมูลอิสระมีประโยชน์มากมายต่อร่างกาย ตั้งแต่ช่วยต้านการติดเชื้อ, ช่วยเสริมภูมิต้านทาน, ลดการอักเสบ, ช่วยชะลอวัย และที่สำคัญคือ เริ่มมีการทำวิจัยกันมาก ถึงบทบาทในการป้องกันมะเร็งของสาร EGCG ที่พบมากในมัทฉะ

ยังพบด้วยว่า ในมัทฉะ 1 แก้วมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง เทียบกับในชาเขียวทั่วไป 10 แก้ว และมัทฉะช็อต 1 แก้ว เทียบได้กับชาเขียวทั่วไป 15 แก้ว และในกาแฟที่ไม่มีสารต้านอนุมูลอิสระเลย
2. มัทฉะควบคุมระดับพลังงาน
หลายคนอาจจะมีอาการกระวนกระวาย หรือใจสั่น หลังดื่มกาแฟ หรืออาจจะรู้สึกเพลียล้าหลังจากดื่มได้ไม่นาน ... เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องแปลก นั่นเป็นเพราะกาแฟจะปลดปล่อยคาเฟอีนออกมาอย่างรวดเร็วและหมดฤทธิ์ภายในช่วงสั้น นั่นหมายความว่า กาแฟจะทำให้อะดรีนาลีนของคุณพุ่งสูง ซึ่งจะส่งผลต่อระดับกลูโคสและอินซูลินในเลือด ดังนั้นคุณอาจจะรู้สึกใจสั่นและหิวได้
สำหรับมัทฉะ จะมีคาเฟอีนไม่สูงมากนัก แต่มันจะถูกปลดปล่อยออกมาอย่างช้าๆ เราจึงได้รับพลังงานที่นานขึ้นและค่อนข้างคงที่เมื่อเทียบกับกาแฟ ซึ่งเป็นผลจาก L-Theanine ที่จะช่วยลดการดูดซึมคาเฟอีนอย่างรวดเร็วของร่างกาย

ถึงแม้ว่า มัทฉะจะมีคาเฟอีนน้อยกว่ากาแฟ (ต่อหนึ่งถ้วย) แต่ก็ทําให้คุณรู้สึกตื่นตัวได้นานกว่า — บางคนบอกว่า อาจจะนาน 4 - 6 ชม. ทีเดียว โดยที่ไม่มีอาการกระวนกระวายใจ หรืออ่อนเพลีย ด้วยเหตุนี้ ปัจจุบันมัทฉะจึงอาจเป็นทางเลือกที่ดี สําหรับผู้ที่ต้องการเพิ่มพลังงาน และไม่ต้องการได้คาเฟอีนที่สูงเกิน
3. มัทฉะช่วยให้สมองปลอดโปร่ง สงบและตื่นตัว
L-Theanine ที่ช่วยชะลอการดูดซึมคาเฟอีน ยังมีคุณสมบัติเด่นอีกอย่างก็คือ ทำให้เรารู้สึกสงบเยือกเย็น ซึ่ง L-Theanine นี้พบได้เฉพาะในชาเท่านั้น และมีการวิจัยที่บ่งชี้ว่า มันช่วยในการนอนหลับได้ (1*) และด้วยคุณสมบัติ ที่จะปล่อยคาเฟอีนออกมาอย่างช้าๆ ก็จะทำให้เรารู้สึกสงบลงได้
ปัจจุบัน พบว่าหลายคนที่มีประสบการณ์ไม่ดีจากการดื่มกาแฟ ที่รู้สึกกังวล ใจสั่น การดื่มกาแฟมากกว่า 1 แก้วต่อวัน อาจจะทำให้รู้สึกกังวล กระสับกระส่าย มีอาการใจสั่น และนอนไม่หลับได้ (พบได้บ่อย)
มีข้อสังเกตอีกเรื่องก็คือ พระสงฆ์ในพุทธศาสนาที่ญี่ปุ่นมักจะนิยมดื่มชามัทฉะกันมากเพื่อช่วยในการนั่งสมาธิ — มันช่วยให้สมองรู้สึกปลอดโปร่ง สงบ ในขณะที่ยังตื่นตัว
4. มัทฉะไม่ทำให้ติด
คนที่ดื่มกาแฟหลายคน เคยพยายามที่จะเลิกดื่มกาแฟกัน ซึ่งจะทำให้เกิดอาการข้างเคียงบางอย่าง เช่น ปวดหัว, อ่อนเพลีย, คลื่นไส้ และปวดตามกล้ามเนื้อ ซึ่งเป็นผลจากความพยายามในการถอนกาแฟ
อาการถอนกาแฟ เกิดจากการขัดขวางพลังงานที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ร่างกายของเรารู้สึกกระหายต้องการคาเฟอีนมาบูสพลังงาน ... นี่เป็นอาการที่รู้จักกันดีว่า เสพติดกาแฟ!
อาการเสพติด แบบนี้คุณจะไม่พบในชามัทฉะ ร่างกายของคุณจะไม่เรียกหาหรือต้องพึ่งพามันมากเหมือนกับที่เจอในกาแฟ ดังนั้นคุณอาจจะหยุดดื่มมัทฉะได้ 2 - 3 วัน โดยที่ไม่มีอาการอะไรเลย
5. มัทฉะช่วยให้สุขภาพฟันดีขึ้น
ต่างจากกาแฟ, มัทฉะจะไม่ทำให้สีของฟันเปลี่ยน ยิ่งไปกว่านั้น มันยังช่วยให้สุขภาพในช่องปากดีขึ้นอีกด้วย
ด้วยคุณสมบัติของสารต้านอนุมูลอิสระที่แรงในมัทฉะ จะช่วยต่อต้านเชื้อแบคทีเรียที่เติบโตในช่องปากและทำให้มีปัญหาทั้งเหงือกอักเสบ ฟันผุ และมีกลิ่นปาก เป็นต้น นอกจากนี้ มัทฉะยังช่วยลดการสะสมของคราบจุลินทรีย์ได้ด้วย
6. มัทฉะช่วยลดน้ำหนัก
ม้ทฉะได้รับการพิสูจน์แล้วว่า ช่วยให้เพิ่มการเผาผลาญและการสลายไขมันดีขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มระดับพลังงานในร่างกายให้สูงขึ้นและทำให้ร่างกายเข้าสู่การเผาผลาญไขมันได้อย่างปลอดภัย โดยไม่ทำให้ความดันเลือดและระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) สูงขึ้น จากการวิจัยพบด้วยว่า การดื่มมัทฉะก่อนออกกำลังกาย จะช่วยให้การสลายไขมันดีขึ้น
ผู้สนใจ สอบถามรายละเอียดและสั่งซื้อได้ที่ ...
⫸ Tel. 082-777-4461, 092-247-7006
⫸ Line ID: baramilab หรือ sale.04
อ้างอิง
1* - https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/30580081/
2 - https://www.baristabuddy.co.th/content/18487/matcha-vs-greentea
#drbunlue #NMP #NMN #NAD #ChapaGroupAndMadePhuwiang #ย้อนวัยไปกับ_drbunlue #GreenTea #ชาเขียว #EGCG #Theanine #CeremonialMatcha #Umami