พลังของความหวัง - HOPE!
top of page

พลังของความหวัง - HOPE!

อัปเดตเมื่อ 11 ธ.ค. 2023

“สถานการณ์ของหนูเหล่านี้ ไม่ใช่สถานการณ์ที่ต้องการสู้หรือหนีเอาตัวรอด - แต่มันเป็นสถานการณ์ที่หมดหวัง … หนูอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่มีทางเลือก … ดูเหมือนจะ ‘ยอมแพ้"


การทดลองเพื่อดูพลังของความหวัง โดยใช้หนูในการทดลองทางจิตวิทยาที่ดำเนินโดย ดร. เคิร์ต ริชเตอร์ ในปี 1957 เพื่อศึกษาพฤติกรรมของหนูที่กำลังจมน้ำและเวลาที่ใช้ในการตาย การทดลองนี้ได้สังเกตพฤติกรรมของหนูเมื่อถูกนำมาใส่ลงในถังที่มีน้ำเต็ม ดร. ริชเตอร์ได้ลองเปลี่ยนแปลงปัจจัยต่างๆ จนได้ข้อสรุปที่น่าสนใจ

การทดลองแบ่งออกเป็นสองขั้นตอน คือ

  • ขั้นตอนที่ 1: หนูบ้าน การทดลองครั้งแรก ใช้หนูบ้านที่ได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี จำนวน 12 ตัว ทั้งหมดถูกนำมาแช่ในถังน้ำ สังเกตุเห็นว่า หนู 4 ตัวแรกพยายามลอยคอบนผิวน้ำ สักครู่ก็ดำลงไปใต้ผิวน้ำเพื่อทำการสำรวจถัง กระบวนการทั้งหมดใช้เวลาสองนาทีแล้วหนูก็ตายไป แต่หนู 9 ตัวที่เหลือ แสดงพฤติกรรมที่ต่างออกไป พวกมันสำรวจถังจนทั่ว แล้วพยายามว่ายเพื่อไม่ให้จมลงก้นถัง พวกมันสามารถดิ้นรนให้รอดชีวิตได้หลายวัน จนสุดท้ายก็จมลงก้นถัง

  • ขั้นตอนที่ 2: หนูป่า การทดลองครั้งถัดไป ใช้หนูป่าที่ถูกจับมาใหม่และ เป็นหนูที่ต้องดิ้นรนต่อสู้เอาตัวรอด หนูป่าพวกนี้ได้รับการเรียนรู้และฝึกฝนโดยธรรมชาติ จึงว่ายได้อย่างแข็งแกร่ง จึงตั้งสมมุติฐาณ์ไว้ว่า หนูป่าเหล่านี้จะพยายามดิ้นรนเพื่อเอาชีวิตรอดได้ แต่ผลลัพธ์ที่ได้กลับตรงกันข้าม คือ หนูป่าทุกตัวตายภายในไม่กี่นาที ทักษะที่พวกมันมีจากการเป็นหนูป่า ไม่มีประโยชน์อะไรเลย


ดร. ริชเตอร์คิดว่า หนูที่ใช้ชีวิตในบ้านและได้รับการดูแลอย่างดี มีความหวังมากกว่าหนูป่า เพราะมีการคอยช่วยเหลือดูแลและสนับสนุนอย่างดี (เช่น คน) ที่แตกต่างจากหนูป่า ที่ต้องดิ้นรนเอง เขาอธิบายว่า


“สถานการณ์ของหนูเหล่านี้ ไม่ใช่สถานการณ์ที่ต้องการสู้หรือหนีเอาตัวรอด - แต่มันเป็นสถานการณ์ที่หมดหวัง … หนูอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่มีทางเลือก … ดูเหมือนจะ ยอมแพ้"

เพื่อที่จะพิสูจน์ความคิดนี้ เขาได้ลองปรับเงื่อนไขการทดลองบางอย่าง เขาใช้ "หนูผสม" ("ผสมระหว่างหนูใช้ชีวิตในบ้านและหนูป่า") ในการทดลองแทนที่จะใช้หนูบ้าน โดยเฉลี่ยพวกมันจะยอมแพ้ และจมน้ำหลังจาก 15 นาที


เขาได้ทำการช่วยหนูขึ้นจากถังก่อนที่จะจมน้ำตาย จากนั้นก็เช็ดตัวหนูให้แห้งและให้พักผ่อนอีกหลายนาที แล้วนำกลับไปแช่ในถังน้ำอีกครั้ง


ในการทดลองครั้งที่สองนี้ คุณคิดว่าพวกมันจะรอดได้นานแค่ไหน? ... อย่าลืมนะว่า พวกมันเพิ่งจะว่ายน้ำจนหมดแรง และได้ยอมแพ้ไปเมื่อไม่กี่นาทีที่ผ่านมา...


คุณคิดว่า พวกมันจะรอดได้นานสักเท่าไหร่?


- 5 นาทีหรือ? / - 10 นาทีหรือ? / หรือ 15 นาที


คำตอบ คือ ... ไม่ใช่ทั้งหมด

พวกมันอยู่ได้นานถึง 60 ชั่วโมง!

60 ชั่วโมงของการว่ายน้ำ ซึ่งเทียบได้กับ 2.5 วัน!


สรุปว่า หนูผสมเชื่อว่า สุดท้ายแล้วพวกมันจะได้รับการช่วยเหลือ พวกมันจึงสามารถผลักดันร่างกายให้อยู่รอด ได้มากกว่าที่คิดว่าจะเป็นไปได้


การทดลองของดร. ริชเตอร์แสดงให้เห็นถึงพลังของความหวัง ความหวังทำให้หนูพยายามดิ้นรนและต่อสู้เพื่อให้รอดชีวิต




🔳 แง่คิดถึงทุกคน:


ถึงแม้ว่า คนและหนูจะมีความแตกต่างกันมาก แต่จากการทดลองนี้ทำให้เราได้เรียนรู้ว่า


คนที่มีความหวัง จะมีความพยายามดิ้นรนที่มากกว่า พวกเขาจะดิ้นรนต่อสู้ เมื่อพวกเขารู้สึกว่ามีทางรอดหรือมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จ แต่ถ้าพวกเขาสิ้นหวัง พวกเขาก็จะยอมแพ้และอยู่อย่างสิ้นหวัง

ถ้าคุณมีความเชื่อแบบสุดหัวใจ เหมือนหนูที่อ่อนแรงจวนจะจมน้ำตาย และกลับมาว่ายน้ำได้นานยิ่งขึ้น ความเชื่อมั่นในตัวคุณเอง จะเป็นพลังผลักดัน ให้คุณเดินไปข้างหน้าต่อไป

  • จำไว้ว่าคุณสามารถทำอะไรได้บ้าง

  • จำไว้ว่าคุณเกิดมาบนโลกนี้เพื่ออะไร


ดังนั้น จงอย่าหมดความหวัง ว่ายน้ำต่อไป ... อย่าหยุด!


ผู้สนใจ สอบถามรายละเอียดและสั่งซื้อได้ที่ ... 
⫸ Tel. 082-777-4461, 092-247-7006 
⫸ Line ID: baramilab หรือ sale.04 

อ้างอิง- On the Phenomenon of Sudden Death in the Animals and Man



bottom of page