ซัลโฟราเฟน (Sulforaphane) คืออะไร? ... มีประโยชน์อย่างไร?
top of page

ซัลโฟราเฟน (Sulforaphane) คืออะไร? ... มีประโยชน์อย่างไร?

อัปเดตเมื่อ 22 ม.ค.


ซัลโฟราเฟน (Sulforaphane) คืออะไร? ... มีประโยชน์อย่างไร?
ซัลโฟราเฟน (Sulforaphane) คืออะไร? ... มีประโยชน์อย่างไร?

Sulforaphane เป็นสารประกอบจากธรรมชาติ ที่พบในผักตระกูลกะหล่ำหลายชนิด เช่น บรอกโคลี กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก และคะน้า พบว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายอย่าง บทความนี้เป็นเพียงการแนะนำให้รู้จักสารซัลโฟราเฟน เบื้องต้น สำหรับงานวิจัยและบทความเชิงลึกจะนำเสนอต่อไป



ซัลโฟราเฟน (Sulforaphane) คืออะไร?


Sulforaphane เป็นสารประกอบที่อุดมด้วยกํามะถันที่พบในผักตระกูลกะหล่ำ เช่น บรอกโคลี บกชอย และกะหล่ำปลี และมีประโยชน์ต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก


ในพืชพวกนี้ Sulforaphane จะอยู่ในรูป inactive form คือ กลูโคราฟานิน (glucoraphanin) ซึ่งเป็นสารตระกูลกลูโคซิโนเลต (glucosinolate) ที่พบในพืช


Sulforaphane จะถูกกระตุ้นเมื่อ glucoraphanin สัมผัสกับเอ็นไซม์ myrosinase ซึ่งเป็นเอ็นไซม์ที่มีบทบาทในการตอบสนองการป้องกันของพืช


นี่เป็นเคล็ดเล็กน้อยในการนำผักตระกูลกะหล่ำมาปรุงเป็นอาหาร โดยยังคงรักษาสารซัลโฟราเฟนได้สูงสุด


  • เอ็นไซม์ Myrosinase จะถูกปล่อยออกมาและถูกกระตุ้นเมื่อพืชได้รับความเสียหายเท่านั้น ดังนั้นผักตระกูลกะหล่ำจะต้องถูกตัดสับหรือเคี้ยว เพื่อปล่อยไมโรซิเนสและกระตุ้นให้ผลิตซัลโฟราเฟนออกมา (*)

  • ผักดิบจะมีสารซัลโฟราเฟนอยู่ในระดับที่สูงมาก มีการศึกษาที่พบว่า บรอกโคลีดิบ มีซัลโฟราเฟนมากกว่าบรอกโคลีปรุงสุกถึงสิบเท่า (*)

  • การนึ่งผักนาน 1 -3 นาที น่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการเพิ่มระดับซัลโฟราเฟน เมื่อปรุงอาหาร (*)

  • ทางที่ดี แนะนำควรปรุงผักที่อุณหภูมิต่ำกว่า 284°F (140°C) เนื่องจากอุณหภูมิที่เกินนี้ จะส่งผลให้สูญเสียสารกลุ่มกลูโคซิโนเลต เช่น กลูโคราฟานิน (*)


ด้วยเหตุนี้ จึงควรหลีกเลี่ยงการต้มหรือไมโครเวฟกับผักตระกูลกะหล่ำ มาเป็นรับประทานแบบดิบหรือนึ่งเบาๆ เพื่อเพิ่มปริมาณสารซัลโฟราเฟน





ประโยชน์ของ Sulforaphane ต่อสุขภาพ


การศึกษาในสัตว์หลอดทดลองและมนุษย์ระบุว่า sulforaphane มีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ


ฤทธิ์ต้านมะเร็ง (Anticancer Effects)

มะเร็งเป็นโรคที่อาจถึงแก่ชีวิตได้ จากการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ไม่สามารถควบคุมได้ Sulforaphane ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า มีคุณสมบัติต้านมะเร็งในหลอดทดลอง และจากการศึกษาในสัตว์หลายชนิด พบว่า Sulforaphane ช่วยลดทั้งขนาดและจํานวนของเซลล์มะเร็งชนิดต่างๆ ได้ (*) (*) (*) ซัลโฟราเฟนอาจจะป้องกันการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง โดยการปล่อยสารต้านอนุมูลอิสระและเอ็นไซม์ล้างพิษ (Detoxification enzyme) ที่ป้องกันสารก่อมะเร็ง (*) (*) (*) ยิ่งไปกว่านั้น ยังไม่ชัดเจนว่า ในทางคลินิก สามารถใช้ซัลโฟราเฟนในการลดความเสี่ยงมะเร็งและลดการเติบโตของมะเร็งในมนุษย์ได้หรือไม่ (*) จากการศึกษาด้านประชากร ที่ได้เชื่อมโยงกับการกินอาหารที่มีผักตระกูลกะหล่ำในปริมาณที่สูง เช่น บรอกโคลีกับความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งที่ลดลงอย่างมีนัยสําคัญ (*) นักวิจัยเชื่อว่า สารประกอบในผักเหล่านี้ — รวมถึงซัลโฟราเฟน — มีบทบาทต่อคุณสมบัติในการต้านมะเร็งได้ (*)


ฤทธิ์ต้านเบาหวาน (Anti-diabetic effects)

ช่วยการทำงานของหัวใจ

ประโยชน์อย่างอื่น เช่น





อาการข้างเคียงและความปลอดภัย


การบริโภคซัลโฟราเฟนในปริมาณที่พบในผักตระกูลกะหล่ำถือว่า ปลอดภัยโดยมีผลข้างเคียงน้อย (*)


ปัจจุบัน เราจะพบว่ามี อาหารเสริมเหล่านี้ขายทางออนไลน์อยู่มาก ซึ่งมักจะทําจากบรอกโคลีหรือสารสกัดจากต้นกล้าบรอกโคลี และโดยทั่วไปจะมีความเข้มข้น มีสารซัลโฟราเฟนมากกว่าที่พบตามธรรมชาติในอาหาร.


Glucoraphanin — สารตั้งต้นของ sulforaphane — ถ้าใช้ใส่ในอาหารเสริมยังต้องผสมกับ myrosinase เพื่อพร้อมกระตุ้นใช้งานได้ตลอด


ปัจจุบันยังไม่มีคําแนะนําถึงขนาดในการบริโภคต่อวันสำหรับ sulforaphane แต่จากการสำรวจทางออนไลน์ แบรนด์อาหารเสริมที่มีอยู่ ส่วนใหญ่แนะนําให้ใช้ประมาณ 400 ไมโครกรัมต่อวัน — หรือท่ากับ 1-2 แคปซูล.


ผลข้างเคียงไม่รุนแรง ที่พอพบได้ เช่น ท้องอืด ท้องผูก และท้องเสีย (*)





#drbunlue #NMP #NMN #NAD #ChapaGroupAndMadePhuwiang #ย้อนวัยไปกับ_drbunlue #antiaging #ชะลอวัย #สุขภาพดี #tiktokสุขภาพ #ลืมป่วย #healthy #healthycare #healthyfood #ดูแลสุขภาพ #Polyphenol #Sulforaphane #อาหารเสริมชะลอวัย




bottom of page