การป้องกันและรักษาจอประสาทตาเสื่อมด้วย NMN
top of page

การป้องกันและรักษาจอประสาทตาเสื่อมด้วย NMN

อัปเดตเมื่อ 20 ต.ค. 2566

หนึ่งในโรคที่มีความเกี่ยวข้องกับ NAD+ คือโรคจอประสาทตาเสื่อม (Macular Degeneration) ซึ่งเกิดจากการทำลายของชั้นหรือช่องว่างระหว่าง Bruch's membrane และ RPE (Retinal Pigment Epithelium) ทำให้เกิดการสร้างหลอดเลือดใหม่ (neovascularization) ภายใต้ชั้น choroid

จอประสาทตาเสื่อม มักจะเกิดในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ซึ่งมีสาเหตุมาจากความเสื่อมของอวัยวะตามอายุ บางครั้งจึงเรียก โรคจอประสาทตาเสื่อมที่มักเกิดในผู้สูงอายุว่า Age – Related Macular Degeneration หรือที่เรียกว่า AMD นั่นเอง


โรคจอประสาทตาเสื่อม มี 2 แบบ คือ

  1. แบบแห้ง (Dry AMD) เกิดจาก การตายของเซลล์ในจอประสาทตา พบได้มากถึง 85 - 90% อาการจะค่อยๆ แสดงออกมา เริ่มมองไม่เห็นในที่มืด จำหน้าคนรู้จักไม่ได้ ภาพที่เห็นเริ่มเบลอ เบี้ยวผิดรูป และการมองเห็นจะแย่ลงเรื่อยๆ ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาด

  2. แบบชื้น (Wet AMD) เกิดจากเส้นเลือดที่ผิดปกติภายในจอตา ซึ่งอาจจะขยายหรือแตกออก เลือดและของเหลวในเลือด จะไหลออกและคั่งอยู่ในบริเวณจอประสาทตา ทำให้บริเวณนั้นบวมผิดปกติ จนการรับภาพของจอประสาทตาผิดปกติ พบได้เพียง 10 - 15% เท่านั้น และมักเป็นผลจากพันธุกรรม กลุ่มนี้มักมีอาการจะรุนแรงมากกว่าชนิดแห้ง อาการจะเกิดขึ้นเร็ว และอาจจะสูญเสียการมองเห็นส่วนใหญ่ได้ภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ และมีโอกาสที่จะทำให้สูญเสียการมองเห็นทั้งหมดด้วย ปัจจุบัน เฉพาะ Wet AMD เท่านั้น ที่มีการรักษาที่ได้ผล ด้วยการฉีดสารยับยั้งการเจริญเติบโตของหลอดเลือด (Anti-VEGF: Anti-vascular endothelial growth factor) เข้าไปในชั้นกระจกตา

อาการจอประสาทตาเสื่อมทั้งสองชนิด โดยทั่วไปมีดังนี้

  • การมองเห็นแย่ลง โดยเฉพาะส่วนกลางภาพ

  • ภาพการมองเห็นบิดเบี้ยวผิดรูป

  • ต้องใช้แสงสว่างมากกว่าปกติ เพื่อให้มองเห็นชัด

  • ต้องใช้แสงมากขึ้นเพื่อมองเห็นสี

  • อ่านหนังสือยากขึ้น


+++++++++++


NAD+ เป็นสารที่มีผลต่อการเกิดและการพัฒนาของโรคจอประสาทตาเสื่อม เพราะ NAD+ เป็นสารที่ช่วยให้ RPE ทำหน้าที่ได้ดี และป้องกันการเกิดความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชัน (oxidative stress) ที่เป็นสาเหตุของการทำลายชั้นหรือช่องว่างระหว่าง Bruch's membrane และชั้น RPE การเพิ่มปริมาณของ NAD+ ในเซลล์ จึงอาจช่วยลดความเสียหายของจอประสาทตาและป้องกันการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม


การทดลองใช้ NMN กับเซลล์ตาของผู้ป่วย AMD พบว่า NMN ช่วยลดความเสียหายของ DNA ได้ถึง 50% และ NMN ยังช่วยลดจำนวนเซลล์เสื่อมสภาพลง (Senescence cell หรือ Zombie cell) และเพิ่มจำนวนเซลล์ที่มีสุขภาพดีให้มากขึ้น การทดลองใช้ NMN กับหนูที่มี AMD พบว่า NMN ช่วยฟื้นฟูโครงสร้างของจอตา และลดการเกิดเซลล์ที่เสื่อมสภาพได้ดี


จากผลการวิจัยที่กล่าวมาข้างต้น พอสรุปได้ว่า NMN เป็นสารที่มีฤทธิ์ในการป้องกันและรักษา AMD ได้ โดยการเพิ่มระดับของ NAD+ ในเซลล์ตา และช่วยให้เซลล์ตามีสุขภาพดีขึ้น



ผู้สนใจ สอบถามรายละเอียดและสั่งซื้อได้ที่ ... 
⫸ Tel. 082-777-4461, 092-247-7006 
⫸ Line ID: baramilab หรือ sale.04 

อ้างอิง


#drbunlue #NMP #NMN #NAD #ChapaGroupAndMadePhuwiang #ย้อนวัยไปกับ_drbunlue

bottom of page