Berberine คืออะไร? ... มีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไร?
top of page

Berberine คืออะไร? ... มีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไร?

อัปเดตเมื่อ 27 ก.พ.


Berberine คืออะไร? ... มีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไร?
Berberine คืออะไร? ... มีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไร?

Berberine (เบอร์เบอรีน) หรือ Berberine Hydrochloride คือ สารประกอบที่พบได้ในพืชหลายชนิด มีสรรพคุณในการรักษาโรคเบาหวาน, คอเลสเตอรอลสูง, และความดันโลหิตสูง


Berberine เป็นส่วนหนึ่งของการแพทย์แผนจีนและอายุรเวทเป็นเวลาหลายพันปี มีสรรพคุณช่วยการทํางานในร่างกายได้หลายอย่างและช่วยสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ภายในเซลล์ของร่างกายด้วย


จากการศึกษาพบว่า berberine ช่วยรักษากระบวนการการเผาผลาญหลายอย่าง, รวมทั้งโรคเบาหวาน, โรคอ้วน, และปัญหาด้านหัวใจ นอกจากนี้ยังช่วยให้ลําไส้ทำงานดีขึ้น



เบอร์เบอรีน (Berberine) มีประโยชน์?


จากงานวิจัยพบว่า เบอร์เบอรีนช่วยรักษาภาวะต่างๆ ได้ผลดี ดังนี้


Berberine ยับยั้งการติดเชื้อแบคทีเรีย


Berberine เป็นสารต้านจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ จากการศึกษาในปี 2022 พบว่า berberine ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus (*)


S. aureus เป็นสาเหตุให้เกิดโรคได้หลายอย่าง: ติดเชื้อในกระแสเลือด, โรคปอด, เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และภาวะติดเชื้อที่ผิวหนัง


จากการศึกษาพบว่า berberine มีความสามารถในการทําลาย DNA และโปรตีนของแบคทีเรียบางชนิดได้ (*)



Berberine มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ


การอักเสบเป็นปัจจัยสําคัญที่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพหลายประการ รวมถึงโรคหัวใจ และโรคเบาหวาน


จากการวิจัย (*) ชี้ให้เห็นว่า berberine มีคุณสมบัติต้านการอักเสบ ซึ่งหมายความว่า berberine ช่วยรักษาโรคเบาหวานและภาวะสุขภาพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ



Berberine และผลต่อโรคเบาหวาน


จากการวิจัยได้แสดงให้เห็นว่า berberine ช่วยในการรักษาโรคเบาหวาน มีการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่า berberne ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด, ไขมันไตรกลีเซอไรด์, อินซูลิน


จากการศึกษาพบว่า การใช้ berberine ร่วมกับยาลดน้ำตาลในเลือด มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคเบาหวานได้ผลดีกว่าการใช้เพียงอย่างเดียว


จากงานวิจัยในปี 2014 (*) พบว่า berberine มีศักยภาพในการรักษาโรคเบาหวาน โดยเฉพาะคนที่ไม่เคยได้รับยารักษาโรคเบาหวานมาก่อน เนื่องจากเป็นโรคหัวใจ โรคตับ และโรคไต


จากการรีวิวงานวิจัยพบว่า (*) การรับประทาน berberine ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์ จะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีกว่าการเปลี่ยนไลฟ์สไตล์เพียงอย่างเดียว


Berberine จะกระตุ้นการใช้งานเอ็นไซม์ AMPK ที่ช่วยควบคุมการใช้น้ำตาลในเลือด นักวิจัยเชื่อว่า (*) การกระตุ้นนี้สามารถช่วยรักษาโรคเบาหวานและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง เช่น โรคอ้วนและคอเลสเตอรอลสูง


มีการตรวจวิเคราะห์ในปี 2020 พบว่า berberine มีประโยชน์ในการลดน้ำหนักตัวและการเผาผลาญ โดยไม่ทำให้ระดับเอ็นไซม์ที่ตับสูงขึ้น





Berberine ช่วยลดคอเลสเตอรอลที่สูง


ระดับคอเลสเตอรอล LDL และไตรกลีเซอไรด์ที่สูง อาจเพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง


หลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่า berberine สามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล LDL และไตรกลีเซอไรด์ได้ จากการศึกษาทั้งในสัตว์และมนุษย์ บ่งชี้ว่า berberine มีผลในการลดระดับคอเลสเตอรอล (*)


Berberine จะช่วยลดระดับ LDL หรือคอเลสเตอรอล "ไม่ดี" และเพิ่มคอเลสเตอรอล ชนิดดี HDL


นักวิจัยเชื่อว่า ผลของ berberine อาจจะคล้ายกับยาลดคอเลสเตอรอล ในขณะที่ berberine ไม่ก่อให้เกิดอาการข้างเคียงเหมือนยาลดคอเลสเตอรอล (*)



Berberine ช่วยลดความดันเลือดสูง


ความดันโลหิตสูงเป็นสาเหตุสําคัญของโรคหัวใจ


จากการรีวิวงานวิจัยพบว่า การให้ berberine ร่วมกับยาลดความดันโลหิต มีประสิทธิภาพมากกว่าการให้ยาเพียงอย่างเดียว (*)


นอกจากนี้ ผลการศึกษาของหนูบ่งชี้ว่า berberine สามารถชะลอการเกิดความดันโลหิตสูงและถ้าความดันเลือดสูงขึ้นแล้ว ก็จะช่วยลดความรุนแรงลงได้



Berberine มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคอ้วน (Obesity)


โรคอ้วน พบได้ทั่วไปและทำให้เสี่ยงต่อการเกิด

  • โรคเบาหวาน ชนิดที่ 2

  • โรคหัวใจ

  • ความดันโลหิตสูง

  • คอเลสเตอรอลสูง

จากการศึกษารายงานพบว่า ผู้ที่รับประทาน Barberry 750 มิลลิกรัม (มก.) วันละสองครั้งเป็นเวลา 3 เดือน จะมีน้ำหนักลดลงอย่างมีนัยสําคัญ Barberry เป็นพืชที่มีปริมาณ berberine สูงมาก (*)


ในการศึกษาคนอ้วน (*) ที่ใช้เวลา 12 สัปดาห์ พบว่า การให้ berberine 500 มก. สามครั้งต่อวันทําให้ลดน้ำหนักประมาณ 5 ปอนด์, โดยเฉลี่ยและ ผู้เข้าร่วมยังสูญเสียไขมันในร่างกาย 3.6%


นอกจากนี้ การศึกษาแบบสุ่มพบว่า คนที่มีปัญหาระบบการเผาผลาญ ที่ได้รับประทาน Barberry 200 มก. สามครั้งต่อวันพบว่า ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ลดลง (*)


จากการศึกษาในปี 2020 (*) ซึ่งพบว่า การบริโภค berberine มีความสัมพันธ์กับการลดลงอย่างมีนัยสําคัญของน้ำหนักตัว, ดัชนีมวลกาย (BMI), และเส้นรอบเอว.


นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยที่พบว่า berberine จะกระตุ้นเนื้อเยื่อไขมันสีน้ำตาล (*) ซึ่งไขมันชนิดนี้จะเปลี่ยนอาหารให้เป็นพลังงานความร้อนในร่างกาย และช่วยกระตุ้นให้รักษาโรคอ้วนและภาวะระบบเผาผลาญผิดปกติ (*)


บางงานวิจัยชี้ให้เห็นว่า (*) berberine ทํางานคล้ายกับยา metformin ซึ่งแพทย์มักจะใช้ในการรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในความเป็นจริง berberine อาจจะช่วยเปลี่ยนแบคทีเรียในลําไส้ ซึ่งจะช่วยรักษาทั้งโรคอ้วนและโรคเบาหวานได้


นอกจากนี้, จากการรรีวิวการศึกษา 12 เรื่องพบว่า การกิน berberine นําไปสู่การลดน้ำหนักอย่างมีนัยสําคัญ รวมทั้งดัชนีมวลกาย (BMI), และไขมันหน้าท้อง นอกจากนี้ยังลดระดับของโปรตีน C-reactive ซึ่งเป็น ตัวชี้วัดการอักเสบ (*)


Berberine ยังพบว่า ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์ไขมันในระดับโมเลกุล ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการลดน้ำหนักได้



Berberine และ Polycystic ovary syndrome (PCOS)


Polycystic ovary syndrome (PCOS) เกิดขึ้นในผู้หญิงที่มีระดับของฮอร์โมนเพศชายสูง กลุ่มอาการที่เกิดจากความไม่สมดุลย์ของฮอร์โมนและการเผาผลาญ ซึ่งอาจจะนำไปสู่ภาวะมีบุตรยากและปัญหาสุขภาพอื่นๆ ตามมา


PCOS มีความเชื่อมโยงกับปัญหาหลายอย่าง และ berberine อาจจะช่วยแก้ไขได้ ตัวอย่างเช่น บุคคลที่มี PCOS อาจจะมี


  • ระดับอินซูลิน และน้ำตาล หรือทั้ง 2 อย่างร่วมกัน

  • ความดันโลหิตสูง

  • ระดับคอเลสเตอรอลสูง

  • มีน้ำหนักเกิน


บางครั้งแพทย์สั่งยา metformin ซึ่งเป็นยารักษาโรคเบาหวานเพื่อรักษา PCOS แต่ก็พบว่า berberine มีฤทธิ์คล้ายกับ metformin และอาจจะเป็นตัวเลือกที่ดีในการรักษา PCOS.


จากการรีวิว (*) พบว่า berberine สามารถนำมาใช้ในการรักษา PCOS ที่ดื้อต่ออินซูลินได้ดี แต่คงจะต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมในประเด็นนี้



Berberine ช่วยยับยั้งมะเร็งได้


Berberine สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงภายในโมเลกุลของเซลล์ได้ และนี้อาจมีประโยชน์ต่อการยับยั้งมะเร็งได้


จากการรีวิว (*) พบว่า berberine มี "ผลยับยั้งที่ชัดเจน" ในมะเร็งต่อไปนี้:


  • มะเร็งลำไส้และทวาร

  • มะเร็งปอด

  • มะเร็งรังไข่

  • มะเร็งต่อมลูกหมาก

  • มะเร็งตับ

  • มะเร็งปากมดลูก


จากการศึกษานี้ (*) ยังพบว่า berberine ช่วยรักษาโรคมะเร็ง โดยไปรบกวนการลุกลามและวงจรชีวิตทั่วไปของมะเร็ง นอกจากนี้ยังอาจมีบทบาทในการฆ่าเซลล์มะเร็ง


จากหลักฐานนี้ ทีมนักวิจัยระบุว่า berberine เป็น "ความคาดหวังสูง ที่มีประสิทธิภาพ, ปลอดภัย, และราคาไม่แพง" ในฐานะเป็นสารที่ใช้ต่อสู้กับมะเร็ง.


อย่างไรก็ตาม, เป็นสิ่งสําคัญที่ต้องศึกษาเพิ่มเติมถึงผลกระทบของ berberine ต่อเซลล์มะเร็งในคน ก่อนที่จะนำมาใช้งาน



Berberine ช่วยการทำงานของลำไส้


ถ้า berberine สามารถช่วยรักษาโรคมะเร็ง, การอักเสบ, โรคเบาหวาน, และภาวะอื่นๆ ได้ อาจจะเป็นเพราะผลของ berberine ที่มีต่อเชื้อจุลินทรีย์ในลำไส้ จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ใน 2020 (*) นักวิทยาศาสตร์พบ ความเชื่อมโยงระหว่างไมโครไบโอมในลําไส้ (Bacterial colonies) และ berberine


Berberine มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ที่ดูเหมือนว่าจะช่วยกําจัดเชื้อแบคทีเรียที่เป็นอันตรายในลําไส้ และช่วยเพิ่มการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่ดีต่อสุขภาพ


จากการศึกษาในมนุษย์และสัตว์ได้ชี้ให้เห็นว่า เรื่องนี้อาจจะจริง, แต่นักวิทยาศาสตร์ (*) ได้เตือนว่า จําเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อยืนยันว่า berberine ส่งผลกระทบต่อมนุษย์และมีความปลอดภัยที่จะนำมาใช้





อาหารเสริม Berberine


The American Association of Naturopathic Physicians (AANP) ได้แจ้งว่าอาหารเสริม berberine ที่มีอยู่เป็นอาหารเสริมหรือแคปซูล และได้เสริมว่า จากการศึกษาจํานวนมาก แนะนําให้ทาน 900-1,500 มก. ต่อวัน แต่คนส่วนใหญ่จะรับประทาน 500 มก. สามครั้งต่อวัน อย่างไรก็ตาม ทาง AANP ย้ำเตือนให้หารือกับแพทย์ก่อนที่จะใช้ berberine เพื่อตรวจสอบว่ามีความปลอดภัยในการใช้และขนาดเท่าใด



Berberine และ metformin


นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า berberine และ metformin มีคุณสมบัติหลายอย่างที่เหมือนกัน และทั้งสองอาจจะเป็นประโยชน์ต่อการรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2.


อย่างไรก็ตาม ถ้าแพทย์ได้กําหนด metformin คนไข้ก็ไม่ควรเปลี่ยนไปใช้ berberine โดยไม่ปรึกษาแพทย์ก่อน.


แพทย์อาจจะคำนวนปริมาณการใช้ metformin ที่ถูกต้องสําหรับแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับการวิจัยทางคลินิก


Berberine อาจจะทำปฏิกิริยากับ metformin และมีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด ทําให้ยุ่งยากที่จะจัดการ มีการศึกษาหนึ่งที่พบว่า การให้ berberine และ metformin ร่วมกัน จะทำให้ฤทธิ์ของ metformin ลดลง 25%ได้ (*)



อาการข้างเคียงของ berberine


The National Center for Complementary and Integrative Health (NCCIH) ระบุว่า การให้ berberine ทางปาก ไม่น่าจะทําให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงในระยะสั้น อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอที่จะแสดงให้เห็นว่าการใช้งานในระยะยาวนั้นจะปลอดภัย


Berberine อาจจะทำให้มีอาการข้างเคียงในทางเดินอาหารได้ เช่น

  • ปวดมวนท้อง

  • ท้องผูก

  • คลื่นไส้

  • อาจจะมีผื่นหรือปวดหัวได้ในบางคน





#drbunlue #NMP #NMN #NAD #ChapaGroupAndMadePhuwiang #ย้อนวัยไปกับ_drbunlue #antiaging #ชะลอวัย #สุขภาพดี #tiktokสุขภาพ #ลืมป่วย #healthy #healthycare #healthyfood #ดูแลสุขภาพ #Berberine #อาหารเสริมชะลอวัย

bottom of page