Sulforaphane เป็นสารประกอบจากธรรมชาติ ที่พบในผักตระกูลกะหล่ำหลายชนิด เช่น บรอกโคลี กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก และคะน้า พบว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายอย่าง บทความนี้เป็นเพียงการแนะนำให้รู้จักสารซัลโฟราเฟน เบื้องต้น สำหรับงานวิจัยและบทความเชิงลึกจะนำเสนอต่อไป
ซัลโฟราเฟน (Sulforaphane) คืออะไร?
Sulforaphane เป็นสารประกอบที่อุดมด้วยกํามะถันที่พบในผักตระกูลกะหล่ำ เช่น บรอกโคลี บกชอย และกะหล่ำปลี และมีประโยชน์ต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก
ในพืชพวกนี้ Sulforaphane จะอยู่ในรูป inactive form คือ กลูโคราฟานิน (glucoraphanin) ซึ่งเป็นสารตระกูลกลูโคซิโนเลต (glucosinolate) ที่พบในพืช
Sulforaphane จะถูกกระตุ้นเมื่อ glucoraphanin สัมผัสกับเอ็นไซม์ myrosinase ซึ่งเป็นเอ็นไซม์ที่มีบทบาทในการตอบสนองการป้องกันของพืช
นี่เป็นเคล็ดเล็กน้อยในการนำผักตระกูลกะหล่ำมาปรุงเป็นอาหาร โดยยังคงรักษาสารซัลโฟราเฟนได้สูงสุด
เอ็นไซม์ Myrosinase จะถูกปล่อยออกมาและถูกกระตุ้นเมื่อพืชได้รับความเสียหายเท่านั้น ดังนั้นผักตระกูลกะหล่ำจะต้องถูกตัดสับหรือเคี้ยว เพื่อปล่อยไมโรซิเนสและกระตุ้นให้ผลิตซัลโฟราเฟนออกมา (*)
ผักดิบจะมีสารซัลโฟราเฟนอยู่ในระดับที่สูงมาก มีการศึกษาที่พบว่า บรอกโคลีดิบ มีซัลโฟราเฟนมากกว่าบรอกโคลีปรุงสุกถึงสิบเท่า (*)
การนึ่งผักนาน 1 -3 นาที น่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการเพิ่มระดับซัลโฟราเฟน เมื่อปรุงอาหาร (*)
ทางที่ดี แนะนำควรปรุงผักที่อุณหภูมิต่ำกว่า 284°F (140°C) เนื่องจากอุณหภูมิที่เกินนี้ จะส่งผลให้สูญเสียสารกลุ่มกลูโคซิโนเลต เช่น กลูโคราฟานิน (*)
ด้วยเหตุนี้ จึงควรหลีกเลี่ยงการต้มหรือไมโครเวฟกับผักตระกูลกะหล่ำ มาเป็นรับประทานแบบดิบหรือนึ่งเบาๆ เพื่อเพิ่มปริมาณสารซัลโฟราเฟน
ประโยชน์ของ Sulforaphane ต่อสุขภาพ
การศึกษาในสัตว์หลอดทดลองและมนุษย์ระบุว่า sulforaphane มีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ
ฤทธิ์ต้านมะเร็ง (Anticancer Effects)
มะเร็งเป็นโรคที่อาจถึงแก่ชีวิตได้ จากการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ไม่สามารถควบคุมได้ Sulforaphane ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า มีคุณสมบัติต้านมะเร็งในหลอดทดลอง และจากการศึกษาในสัตว์หลายชนิด พบว่า Sulforaphane ช่วยลดทั้งขนาดและจํานวนของเซลล์มะเร็งชนิดต่างๆ ได้ (*) (*) (*) ซัลโฟราเฟนอาจจะป้องกันการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง โดยการปล่อยสารต้านอนุมูลอิสระและเอ็นไซม์ล้างพิษ (Detoxification enzyme) ที่ป้องกันสารก่อมะเร็ง (*) (*) (*) ยิ่งไปกว่านั้น ยังไม่ชัดเจนว่า ในทางคลินิก สามารถใช้ซัลโฟราเฟนในการลดความเสี่ยงมะเร็งและลดการเติบโตของมะเร็งในมนุษย์ได้หรือไม่ (*) จากการศึกษาด้านประชากร ที่ได้เชื่อมโยงกับการกินอาหารที่มีผักตระกูลกะหล่ำในปริมาณที่สูง เช่น บรอกโคลีกับความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งที่ลดลงอย่างมีนัยสําคัญ (*) นักวิจัยเชื่อว่า สารประกอบในผักเหล่านี้ — รวมถึงซัลโฟราเฟน — มีบทบาทต่อคุณสมบัติในการต้านมะเร็งได้ (*)
ฤทธิ์ต้านเบาหวาน (Anti-diabetic effects)
ช่วยการทำงานของหัวใจ
ประโยชน์อย่างอื่น เช่น
อาการข้างเคียงและความปลอดภัย
การบริโภคซัลโฟราเฟนในปริมาณที่พบในผักตระกูลกะหล่ำถือว่า ปลอดภัยโดยมีผลข้างเคียงน้อย (*)
ปัจจุบัน เราจะพบว่ามี อาหารเสริมเหล่านี้ขายทางออนไลน์อยู่มาก ซึ่งมักจะทําจากบรอกโคลีหรือสารสกัดจากต้นกล้าบรอกโคลี และโดยทั่วไปจะมีความเข้มข้น มีสารซัลโฟราเฟนมากกว่าที่พบตามธรรมชาติในอาหาร.
Glucoraphanin — สารตั้งต้นของ sulforaphane — ถ้าใช้ใส่ในอาหารเสริมยังต้องผสมกับ myrosinase เพื่อพร้อมกระตุ้นใช้งานได้ตลอด
ปัจจุบันยังไม่มีคําแนะนําถึงขนาดในการบริโภคต่อวันสำหรับ sulforaphane แต่จากการสำรวจทางออนไลน์ แบรนด์อาหารเสริมที่มีอยู่ ส่วนใหญ่แนะนําให้ใช้ประมาณ 400 ไมโครกรัมต่อวัน — หรือท่ากับ 1-2 แคปซูล.
ผลข้างเคียงไม่รุนแรง ที่พอพบได้ เช่น ท้องอืด ท้องผูก และท้องเสีย (*)
#drbunlue #NMP #NMN #NAD #ChapaGroupAndMadePhuwiang #ย้อนวัยไปกับ_drbunlue #antiaging #ชะลอวัย #สุขภาพดี #tiktokสุขภาพ #ลืมป่วย #healthy #healthycare #healthyfood #ดูแลสุขภาพ #Polyphenol #Sulforaphane #อาหารเสริมชะลอวัย
ความคิดเห็น