SPF คืออะไร?
ย่อมาจาก Sun Protection Factor มีค่าอยู่ที่ 2 ถึง 100
ค่านี้บอกอะไรเราได้บ้าง… ค่านี้บ่งบอกถึงความสามารถของผลิตภัณฑ์ในการปกป้องผิวหนังจากแสงแดด
ยกตัวอย่าง ถ้าคุณใช้ครีมกันแดดตัวหนึ่งที่มี SPF 15 หมายความว่า ตัวคุณสามารถอยู่กลางแสงแดดได้นานถึง 15 เท่าของเวลาที่คุณจะอยู่ได้ โดยที่คุณไม่ถูกแดดแผดเผา — หรือขยายความให้ชัดก็คือ ถ้าปกติคุณออกแดดนาน 10 นาที ผิวของคุณก็จะเกิดอาการไหม้แดงขึ้นมา ดังนั้น ถ้าคุณใช้ครีมกันแดด SPF 15 นั่นหมายความว่า คุณสามารถอยู่กลางแสงแดดได้นานขึ้น 15 เท่า โดยที่ผิวของคุณไม่มีอาการอะไร — พูดให้ชัดๆ ก็คือ คุณสามารถอยู่กลางแดดได้นาน = 10 นาที x 15 (ค่าของ SPF) = 150 นาที
คงชัดเจนนะครับ… บรรดาเกจิอาจารย์หลายท่านตกม้าตายมาก็มาก แม้แต่พวกแพทย์ที่เก่งๆ ก็ตามเถอะ
แต่มีสิ่งหนึ่งที่ผมอยากจะชี้ให้คุณเห็น… จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อของผู้ขายบางราย ที่มักจะชี้แนะว่าต้อง SPF ยิ่งสูงเท่าไหร่ก็ยิ่งดี — ก่อนอื่นคุณต้องรู้ก่อนว่า ความสามารถในการปกป้องของครีมกันแดดไม่ได้สูงขึ้นเป็นสัดส่วนโดยตรงกับค่า SPF ที่สูงขึ้น — ยกตัวอย่างให้ชัด คือ SPF 2 จะสามารถดูดซับรังสี UV ได้ 50%, ถ้ามีค่า 15 จะดูดซับรังสี UV ได้ 93% และถ้ามีค่า 30 จะดูดซับได้ 97% ด้งนั้นค่าที่สูงกว่า 30 ก็ป้องกันรังสี UV เพิ่มได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ในปี 1999 ทางองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (US FDA) จึงได้กำหนดให้ระบุค่า SPF ในสลากครีมกันแดดได้สูงสุดที่ 30 เท่านั้น ถ้าสูงมากกว่านั้น ให้ระบุเป็น SPF 30+
ส่วนในประเทศไทย ทางองค์การอาหารและยาของไทย ให้ระบุค่า SPF ได้ไม่เกิน 50 ถ้ามากกว่า 50 ก็ให้ระบุเป็น SPF 50+ (ตามกฏหมายเลยนะครับ)
แต่จากประสบการณ์ที่ผ่านมา จะพบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่จะถามหาแต่ครีมกันแดดที่มีค่า SPF สูงแทบทั้งนั้น เนื่องจากมีการโฆษณาชวนเชื่อกันมากว่า SPF ยิ่งสูงมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งดี ดังนั้นถ้าลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของคุณสนใจที่จะหา หรือต้องการครีมกันแดดที่มีค่า SPF สูง … เราแนะนำให้คุณเข้าไปดูรายการครีมกันแดดของ Barami Laboratories ที่มีหลายหลาย ทั้งเนื้อใยไหม เนื้อมูส เนื้อเจล เนื้อซิลิโคน และอื่นๆ ตามความต้องการได้ที่ — กดคลิ๊ก — (ครีมกันแดดของเราทุกตัวมีเอกสารยืนยันค่า SPF จริงทุกรายการจากทางห้องแลบมาตรฐานระดับโลก ซึ่งขอดูได้จากฝ่ายขาย) หลายรายการที่มีค่า มากกว่า 70
เห็นหรือยังครับว่า… พวกเราตกเป็นเหยื่อของผลิตภัณฑ์ที่เอา SPF สูงเข้าล่อ
ปัจจุบันจะมี UPF (Ultraviolet Protectine Factor) ซึ่งถือว่าเป็นมาตรฐานใหม่ ทั้ง UPF และ SPF แตกต่างกันตรงที่ UPF เป็นค่าที่บอกถึงความสามารถในการป้องกันรังสี UVA และ UVB ในขณะที่ SPF บ่งบอกถึงความสามารถในการป้องกันรังสี UVB เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
คุณสามารถหาความรู้เพิ่มเติมเรื่องแสงแดดที่มีผลกระทบต่อผิวหนังได้ที่ แสงแดดและรังสี UV มีผลอย่างไรกับผิวหนัง?
ตารางข้างล่างเป็นการเปรียบเทียบ UPF และ SPF
Classification Category Rating %UV Blocked
Very Good UV Protection UPF 25, 30, 35 96.0% – 97.4%
Very Good UV Protection SPF 25, 30 96.0% – 97.4%
Excellent UV Protection UPF 40, 45, 50+ 97.5% – 98.0%
Excellent UV Protection SPF 30 97.5+%
Comments