top of page

สารอะไรที่ทำให้พลูคาวมีฤทธิ์ต้านมะเร็งได้ผลดี?

อัปเดตเมื่อ 19 ม.ค.


สารอะไรที่ทำให้พลูคาวมีฤทธิ์ต้านมะเร็งได้ผลดี?
สารอะไรที่ทำให้พลูคาวมีฤทธิ์ต้านมะเร็งได้ผลดี?

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 เป็นต้นมา มะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ของคนไทย สถิติโรคมะเร็งล่าสุดของประเทศไทย จากสถาบันมะเร็งแห่งชาติระบุว่า โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายของคนไทยจำนวน 80,665 รายต่อปี ในปี พ.ศ. 2561 มีจำนวนผู้ป่วยมะเร็งเพิ่มวันละ 381 คน หรือ 139,206 คนต่อปี


การรักษามะเร็งในปัจจุบันก็ยังคงใช้แบบเดิมเป็นหลัก คือ การผ่าตัด การใช้รังสีรักษา และการใช้สารเคมีบำบัด แม้จะมีทางเลือกใหม่ เช่น การรักษาแบบพุ่งเป้า (Precision Medicine) แต่ก็มีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก หรือแม้แต่การใช้สารเคมีก็ตาม ซึ่งมักจะมีราคาสูงมากถ้าเป็นแบบพุ่งเป้าไปที่มะเร็งและมีอาการข้างเคียงน้อย


หลายคนจึงหันมาใช้สมุนไพรเป็นตัวเลือกในการรักษามะเร็ง ที่มีราคาถูกกว่ากันมาก และมีอาการข้างเคียงน้อยมากเมื่อเทียบกับการรักษาแบบดั้งเดิม และพลูคาว ถือได้ว่าเป็นสมุนไพรพื้นบ้านของไทยที่มีการนำมาใช้รักษามะเร็งมาอย่างยาวนาน


จากผลการวิจัย พบว่า พลูคาวมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านแบคทีเรีย ต้านไวรัส และต้านมะเร็ง ในที่นี้จะกล่าวถึงฤทธิ์ที่น่าสนใจ คือ ฤทธิ์ต้านมะเร็ง ซึ่งสารที่ออกฤทธิ์ก็คือ Rutin และ เควอซิทิน (Quercetin) แต่ที่ได้รับการศึกษาวิจัยและพูดถึงกันมากคือ Quercetin (เควอซิทิน)


โดยทั่วไป การเสื่อมสภาพ ถือได้ว่าเป็นกลไกอย่างหนึ่งของร่างกายที่สามารถต้านมะเร็งได้ ซึ่งจะป้องกันเซลล์มะเร็งไม่ให้เติบโตและยับยั้งการลุกลามของมะเร็งได้ ถึงกระนั้นก็ตาม การเสื่อมสภาพก็อาจจะลดความสามารถในการรักษามะเร็งได้และมีผลให้มะเร็งกลับมาได้หลังจากรักษาไปแล้ว


การรักษาแบบใหม่ที่เรียกว่า Senotherapy จะเลือกทำลายหรือยับยั้งกระบวนการเสื่อมสภาพ ยากลุ่มซีโนไลติก (Senolytic drugs) จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษามะเร็งได้ดี และสารกลุ่มนี้ ตัวที่น่าสนใจก็คือ เคอร์เซติน ซึ่งเป็นฟลาโวนอยด์ที่พบได้ในพืชหลายชนิด โดยเฉพาะพลูคาว


เควอซิทิน เป็นสารที่มีฤทธิ์มากในการกระตุ้นกลไกการเสื่อมสภาพของเซลล์ โดยจะไปยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ (ในเฟส G1 และ G2/M) และจะไปกระตุ้นเอ็นไซม์ไคเนสและยีนต้านมะเร็งให้ทำงานมากขึ้น ปัจจุบันมีการใช้เควอซิทินในการกำจัดเซลล์ที่เสื่อมสภาพ หรือซอมบี้เซลล์ (Zombie cell) กันมากขึ้น ทำให้ลดความเสี่ยงของการกลายสภาพเป็นเซลล์มะเร็งต่อไป


มีการศึกษาวิจัยกันมากถึง ศักยภาพของเควอซิทินที่มีฤทธิ์ป้องกันมะเร็งได้ผลดีผ่านทางกลไกการเสื่อมสภาพของเซลล์ จึงถือได้ว่า เควอซิทินมีฤทธิ์เป็น Senotherapeutic effects


แม้ว่าจะมีการพูดถึงฤทธิ์ต้านมะเร็งและกลไกการเสื่อมสภาพของเซลล์ ที่ถือได้ว่าเป็นแนวทางการรักษามะเร็งที่น่าสนใจและมีอาการข้างเคียงน้อยก็ตาม แต่การศึกษาผลของการใช้เควอซิทินในการรักษามะเร็งในคนยังคงมีจำกัด ต้องรองานวิจัยอีกมากสนับสนุนแนวทาง


แต่ปัจจุบันนี้ก็มีผลิตภัณฑ์สมุนไพรจำนวนมากจำหน่ายในท้องตลาด ที่อ้างถึงสรรพคุณในการรักษามะเร็ง เนื่องจากราคาที่ไม่สูงมาก มีอาการข้างเคียงน้อย จึงเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมกันมากขึ้นเรื่อยๆ




ผู้สนใจ สอบถามรายละเอียดและสั่งซื้อได้ที่ ... 
⫸ Tel. 082-777-4461, 092-247-7006 
⫸ Line ID: baramilab หรือ sale.04 

อ้างอิง




Comments

Rated 0 out of 5 stars.
No ratings yet

Add a rating
bottom of page