เป็นข่าวใหญ่ในแวดวงนักวิจัยด้านชะลอวัยทั่วโลก ที่รัฐสภาคองเกรสของสหรัฐอเมริกาให้ความเห็นชอบในการแก้ไขปัญหาระยะยาวของประเทศเรื่องแรงงาน ซึ่งจะส่งผลต่ออัตราการเติบโตของเศรษฐกิจในสหรัฐ ที่จะเกิดขึ้นในช่วงไม่กี่ปีข้างหน้า และจะยิ่งรุนแรงมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ โดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพมาช่วยแก้ปัญหานี้ นั่นคือ การชะลอการแก่ตัวของประชากรในประเทศ เพื่อลดภาระแรงงาน ที่จะต้องมาดูแลคนสูงอายุที่ไม่สามารถดูแลตัวเองได้ ที่นับวันจะมากขึ้นเรื่อยๆ
จากร่างกฎหมายใหม่ของวุฒิสภา มีการจัดสรรเงินทุนสําหรับการวิจัย ที่มุ่งเน้นไปที่การชะลอวัย หรือย้อนวัยด้วยเทคโนโลยีใหม่ที่เรียกว่า Epigenetic Reprogramming — การฟื้นฟูเซลล์ทางพันธุกรรมให้ย้อนไปสู่ระยะแรกของการเจริญเติบโตและพัฒนาการ
โดยอาศัยอํานาจตามร่างกฎหมายการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในปี 2024 จะมีการจัดสรรเงิน 1.5 พันล้านดอลลาร์ ให้กับ Advanced Research Projects Agency for Health (ARPA-H: สํานักงานโครงการวิจัยขั้นสูงเพื่อสุขภาพ)
ARPA-H เป็นหน่วยงานที่ก่อตั้งขึ้นมาหลัง Defense Advanced Research Projects Agency (DARPA) - ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้การดูแลของทหาร ที่มีชื่อเสียงในการปูทางให้กับอินเตอร์เน็ตและระบบนำทาง GPS (Global positioning system) ที่เราใช้งานกันอยู่ทั่วโลก แต่ภารกิจของ ARPA-H จะแตกต่างออกไปและมีเป้าหมายที่สูงกว่านั้นมาก
“เร่งผลักดันให้ได้ผลลัพธ์ด้านสุขภาพที่ดีขึ้น โดยการสนับสนุนการพัฒนาโซลูชัน ที่มีผลกระทบสูงต่อปัญหาสุขภาพที่ท้าทายที่สุดของสังคม”
จากส่วนหนึ่งของเอกสารที่ยื่นขอทุน DEPARTMENTS OF LABOR, HEALTH AND HUMAN SERVICES, AND EDUCATION, AND RELATED AGENCIES APPROPRIATION BILL ปี 2024 ในหน้า 135 ที่แสดงให้เห็นการจัดสรรเงินวิจัย 1.5 พันล้านดอลล่าร์ สำหรับใช้ในโครงการของ ARPA-H ปี 2024
ปัญหาที่ท้าทายที่สุดของสังคม ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอีกไม่นานก็คือ การสูงวัย - ตามร่างพ.ร.บ.
“ประชากรผู้ใหญ่ในสหรัฐอเมริกาที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป จะเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าภายในปี 2050 โดยจะมีคนอายุครบ 65 ปี เพิ่มขึ้นเฉลี่ยวันละ 10,000 คน ทุกวัน”
การเพิ่มขึ้นอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในผู้สูงอายุนี้คาดว่า จะชะลอการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯ เมื่อคนจํานวนมากเกษียณอายุคาดว่า จะมีการลดจํานวนพนักงานลง นอกจากนี้ คนที่มีอายุมากขึ้นมักนําไปสู่ความไร้สมรรถภาพและช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ซึ่งจะกลายเป็นภาระของสมาชิกในครอบครัวในการดูแลเป็นหลัก และจะส่งผลต่อแรงงานของคนหนุ่มสาวในวัยทำงาน โดยรวมแล้วการลดลงของข้อมูลด้านแรงงานของประเทศ ทําให้การเติบโตทางเศรษฐกิจต้องชะลอตัวลง
การแก้ปัญหาเรื่องประชากร
เมื่อพิจารณาถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจของประชากรสูงอายุ นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นหาวิธีการช่วยยืดอายุขัยของประชากรและมีสุขภาพที่ดีด้วย อย่างไรก็ตาม การเพิ่มอายุขัยได้จะต้องรับมือกับโรคที่มากับอายุด้วยเช่นกัน เช่น โรคหัวใจ ภาวะสมองเสื่อมและมะเร็ง ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่จะทำได้ง่าย
เพื่อแก้ไขปัญหานี้ วุฒิสภาได้เสนอให้ระดมทุนการทำวิจัยด้าน Geroscience (การทำวิจัยเกี่ยวกับตัวขับเคลื่อนทางชีวภาพพื้นฐานของการชราภาพ) - ผ่านหน่วยงาน ARPA-H ซึ่งในร่างกฎหมายดังกล่าวระบุว่า
“จากการค้นพบข้อมูลเชิงลึกใหม่ๆ เกี่ยวกับสาเหตุพื้นฐานของโรคที่เกี่ยวข้องกับอายุ การทำวิจัยด้าน Geroscience อาจจะนําไปสู่การรักษาและการบําบัดที่มีความเป็นไปได้ ที่จะเพิ่มอายุขัยของประชากร เพื่อให้พวกเขามีสุขภาพที่ดีขึ้น และยังช่วยจัดการกับภาระที่เพิ่มขึ้นของโรคที่เกี่ยวข้องกับอายุในสังคม”
ในร่างกฎหมาย, หน่วยงาน ARPA-H ได้รับการจัดลําดับความสําคัญของการวิจัย geroscience ใน 2 ขอบเขตด้วยกัน คือ Biomarkers และ Epigenetic reprogramming
Biomarkers
Biological markers เป็นตัววัดทางชีวภาพ เพื่อใช้ในการประเมินสถานะสุขภาพของแต่ละบุคคล Biomarkers มีหลายรูปแบบ รวมถึงการวัด genetic markers, protein markers และ imaging markers เช่น X-rays, CT-scan เป็นต้น ตัวอย่างของ biomarkers ที่ใช้ประจำทางการแพทย์ ได้แก่ ความดันโลหิต, อุณหภูมิของร่างกาย และดัชนีมวลกาย (BMI) ที่สําคัญ biomarkers ยังสามารถทํานายและวินิจฉัยโรคได้ล่วงหน้าด้วย
(NIH: News in Health) Biomarker ที่เป็นความดันโลหิต ถ้าสูง ก็จะทำนายได้ว่า อาจจะมีปัญหาเรื่องหัวใจ, stroke, โรคไต และปัญหาร้ายแรงอย่างอื่นตามมา
อย่างไรก็ตาม เมื่อพูดถึง geroscience ยังไม่มี biomarkers ที่เป็นมาตรฐานสำหรับใช้ในการประเมินอายุ ในขณะที่มีการค้นพบวิธีการต่อต้านความชราจํานวนมากในช่วงไม่กี่สิบปีที่ผ่านมาและเนื่องจากการขาด biomarkers ที่มีความแม่นยำ จึงเป็นเรื่องยากที่จะประเมินว่า วิธีการต่างๆ จะใช้งานในมนุษย์ได้ผลดีหรือไม่ ด้วยเหตุนี้ ในร่างกฎหมายจึงระบุว่า
“การค้นพบและตรวจสอบ Biomarker สําหรับผู้สูงอายุ จะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพของวิธีการต่างๆ ได้อย่างมีนัยสําคัญ...”
กล่าวอีกนัยหนึ่ง หากเราพบ biomarkers ที่เชื่อถือได้สําหรับผู้สูงอายุ เราก็สามารถบอกได้ถึงประสิทธิภาพในการต่อต้านความแก่ชราได้ดีขึ้น
Epigenetic Reprogramming
Epigenetic reprogramming เป็นเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ ที่สามารถย้อนวัยได้ และมีความสัมพันธ์กับ Theory of Aging ที่เสนอโดย ดร. เดวิด ซินแคลร์ ที่ระบุว่า จากการสูญเสียข้อมูลทางพันธุกรรม นําไปสู่โรคที่เกี่ยวข้องกับอายุและการเสียชีวิต ในทางกลับกัน, epigenetic reprogramming สามารถเรียกคืนข้อมูลทางพันธุกรรมที่หายไปและย้อนกลับความชรา (ย้อนวัย) และโรคที่เกี่ยวข้องกับอายุได้
ในร่างกฎหมายได้ระบุว่า ...
“Epigenetic reprogramming ของอายุเซลล์ สามารถชะลอหรือย้อนกลับกระบวนการชราภาพได้ และยังป้องกัน หรือชะลอการเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับอายุได้ทั้งหมด”
Epigenetic Reprogramming ในมนุษย์
อาจต้องใช้เวลาสักระยะก่อนที่เราจะได้เห็น Epigenetic reprogramming นำมาใช้ในชีวิตจริง เนื่องจากเทคโนโลยียังอยู่ในระยะแรก อย่างไรก็ตาม ด้วยการสนับสนุนค่าใช้จ่ายจากภาครัฐที่เพิ่มขึ้น ทำให้บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพอย่าง Rejuvenate Bio สามารถยืดอายุขัยของหนูได้แล้ว ด้วยการใช้ Epigenetic reprogramming และที่สถาบันวิจัย เช่น Barbraham Institute ได้ทำ Epigenetic reprogramming กับเซลล์มนุษย์ในห้องแลบ ให้มีอายุลดน้อยลงกว่า 30 ปีได้สำเร็จ
นอกจากนี้ นักวิจัยของ Life Biosciences และ Harvard ยังใช้ epigenetic reprogramming เพื่อฟื้นฟูการมองเห็นของลิงไพรเมต (ที่เป็นญาติในการวิวัฒนาการที่ใกล้ชิดที่สุดของมนุษย์) หนึ่งในนักวิจัยของฮาร์วาร์ดที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาครั้งนี้ไม่ใช่ใครอื่นนอกจาก ดร. เดวิด ซินแคลร์ ซึ่งกล่าวว่า:
“สิ่งที่เราได้เรียนรู้จากลิงไพรเมต มีผลกระทบที่สําคัญต่อการวิจัย ที่เกี่ยวกับการย้อนวัย และมีแนวโน้มสูงที่จะนำมาใช้กับมนุษย์”
ดังนั้น อย่างน้อยในสายตาของนักวิทยาศาสตร์อย่าง Dr. David Sinclair เราอาจจะได้เห็น epigenetic reprogramming ในมนุษย์เร็วกว่าที่ผ่านมา
ความก้าวหน้าในงานวิจัย Epigenetic Reprogramming
ในการศึกษาที่ตีพิมพ์ใน Nature Aging เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน ปี 2023 พบว่า การทำ epigenetic reprogramming อย่างต่อเนื่องให้กับหนูในห้องทดลอง ส่งผลให้ตับและลําไส้ทํางานผิดปกติ นอกจากนี้ ความผิดปกติของอวัยวะนี้ ทําให้น้ำหนักตัวหนูลดลงและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร
อย่างไรก็ตาม หากหนูที่ถูกตั้งโปรแกรมใหม่กับทุกส่วนของร่างกาย ยกเว้นตับและลําไส้ การตายก่อนวัยอันควร น่าจะลดลง การค้นพบเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า epigenetic reprogramming จําเป็นต้องได้รับการศึกษาและทําความเข้าใจอย่างละเอียด เพื่อปรับแนวทางการรักษาสําหรับประชากรผู้สูงอายุที่หลากหลายและเพิ่มขึ้นของทั่วโลก
#drbunlue #NMP #NMN #NAD #ChapaGroupAndMadePhuwiang #ย้อนวัยไปกับ_drbunlue #antiaging #ชะลอวัย #สุขภาพดี #tiktokสุขภาพ #ลืมป่วย #healthy #healthycare #healthyfood #ดูแลสุขภาพ #มณีแดง #RedGem #EpigeneticReprogramming #ย้อนวัย
Comments