top of page

NAD+ ช่วยป้องกันการสูญเสียการได้ยิน

น.พ.บรรลือ กองไชย

14 มิ.ย. 2566

เสียงที่ดังมากจะทำให้เซลล์ประสาทในหูชั้นในเสื่อม

ปัญหาเรื่องเสียงดังเป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้สูญเสียการได้ยินที่พบได้ทั่วโลก  เนื่องจากเสียงที่ดัง จะทำให้ แฮร์เซลล์ (Hair cell - เป็นตัวรับการกระตุ้นของสัญญานเสียง) หลั่งสารบางอย่างที่ไปทำลายกลไกการได้ยินที่เชื่อมระหว่าง ค๊อกเคลีย (Cochlea – อวัยวะในหูชั้นในที่คอยรับสัญญานเสียงและการทรงตัว) และสมอง  ยิ่งถ้าได้ยินเสียงดังต่อเนื่องบ่อยๆ ก็จะไปทำลายกลไปนี้อย่างถาวร ทำให้เกิดการสูญเสียการได้ยินอย่างถาวรตามมา


นักวิทยาศาสตรจากมหาวิทยาลัยคอร์เนลได้ทำการทดลอง ที่แสดงให้เห็นว่า การฉีดสาร Nicotinamide Riboside (NR เป็นสารตั้งต้นที่แปลงเป็น NMN และ NAD+ ในเซลล์) ในตัวหนูทดลอง จะช่วยป้องกันการสูญเสียการได้ยิน จากการรับเสียงดังมากอย่างต่อเนื่องได้


จากงานวิจัยนี้ พบว่าระดับ NAD+ ที่สูงจะไปกระตุ้นโปรตีน SIRT-3 ซึ่งช่วยให้เซลล์ทำงานได้ดีขึ้น รวมทั้งปกป้องเซลล์ในค๊อกเคลียให้ทำหน้าที่รับส่งสัญญานเสียงแม้จะสัมผัสเสียงดังต่อเนื่อง  ดังนั้นการให้สาร NR จะป้องกันไม่ให้ระดับ NAD+ ในค๊อกเคลียลดลงและช่วยป้องกันการสูญเสียการได้ยินจากเสียงที่ดังมาก

 

 

อ้างอิง

https://www.cell.com/cell-metabolism/fulltext/S1550-4131(14)00500-2

bottom of page